Facet Joint Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่พบได้มากในบุคคลที่มักมีอาการปวดบ่าคอและหลัง ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้เกิดการจำกัดการทำงานและเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
อาการของ Facet Joint Syndrome
- อาการปวดแบบเฉียบพลันที่บริเวณคอ หรือ หลังส่วนล่างจากบริเวณที่ข้อต่อมีการอักเสบ ซึ่งอาการปวดมักไมสามารถคาดการณ์ได้ และจะเกิดขึ้นไม่กี่ครั้งต่อเดือนหรือต่อปี
- ผู้ป่วยส่วนมากจะมีจุดกดเจ็บบนข้อต่อ และมีการลดลงขององศาการเคลื่อนไหวเนื่องจากเกิดารเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ปกคลุมและรองรับการทำงานการเคลื่อนไหวในบริเวณนั้นๆ
- โดยปกติแล้วเมื่อโน้มตัวไปทางด้านหน้าและเอนตัวมาทางด้านหลังจะรู้สึกไม่สบายมากขึ้น และมีการจำกัดการเคลื่อนไหว
- อาการปวดหลังส่วนล่างเนื่องจากข้อ facet มักเกิดร่วมกับอาการร้าวลงสะโพกและต้นขาซึ่งพบได้บ่อย จะต่างกับอาการร้าวที่บริเวณด้านหน้าขาหรือร้าวลงไปที่เข่าหรือเท้าซึ่งจะชี้ถึงหมอนรองกระดูก
- เช่นเดียวกันอาการปวดคอจาก facet สามารถเกิดการร้าวไปยังหัวไหล่-หลังหลังส่วนบนได้ ต่างกับอาการร้าวไปยังด้านหน้าแขนและนิ้วมือซึ่งชี้ถึงภาวะหมอนรองกระดูก
การรักษาอาการ Facet Joint Syndrome
ในปัจจุบันการรักษาอาการ ได้มีขึ้นหลายๆรูปแบบ ทั้งนี้จะขอสรุปออกเป็นสองรูปแบบหลักด้วยกันได้แก่การรักษาแบบไม่ใช้การผ่าตัด และการรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาแบบไม่ใช้การผ่าตัด
- การรักษาด้วยวิธีการปรับสรีระอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด
- เครื่องมือทางไฟฟ้าลดอาการปวดเช่น ultrasound, TENS, หรือการใช้ความร้อน-เย็น ในการลดอาการปวด
- การออกกำลังกายลำหรับอาการปวดหลัง ทั้งการยืดเหยียด stretching เพิ่มความแข็งแรง strengthening และการออกกำลังกายแบบ low-impact aerobic เช่นการว่ายน้ำหรือการทำธาราบำบัด
- การปรับเปลี่ยนรูปแบบของลักษณะการทรงท่าในอยู่ในลักษณะที่ถูกต้องและเหมาะสม (good posture)
- การรักษาโดยการใช้ยาลดอาการปวด (NSAID)
- การปรับ-จัด โครงร่างให้อยู่ในรูบแบบปกติ (physiotherapy manipulation)
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดข้อจะถูกพิจารณาในผู้ป่วยที่มีปัญหาร้ายแรงเนื่องจากการเสื่อมลงของข้อทำให้เกิดการยึดติดกันของหมอนรองกระดูก จึงใช้การผ่าตัดเพื่อยึดติดกระดูกก่อนที่จะเกิดการยึดติดของหมอนรองกระดูกและข้อต่อเพิ่มขึ้น