ความแตกต่างระหว่างปวดหัวกับปวดหัวแบบไมเกรน
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเมื่อมีอาการปวดหัวก็มักจะเป็นไมเกรนร่วมด้วยเสมอ แต่แท้ที่จริงแล้วอากรปวดหัวแบบไมเกรนเป็นเพียง 1 ใน 3 ชนิดของอาการปวดหัวทั่วๆไป ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ :
1. ปวดหัวจากความเครียดหรือปวดหัวแบบกล้ามเนื้อเกร็งตัว (Tension Headache) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะอาการจะมีการปวดแบบตึง ๆ ตื้อ ๆ รู้สึกปวดรอบๆหัวเหมือนมีอะไรมารัดหัว ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัว ขมับ บ่า เกิดการเกร็งตัว และอาจปวดลามลงไปถึง คอ ไหล่ บ่า มีการตอบสนองต่อแสงและเสียงไวกว่าเดิม รู้สึกตึงแถวหลังตา จะมีอาการตั้งแต่ 30 นาทีไปถึงหลายชั่วโมง สิ่งกระตุ้นที่มักทำให้เกิดการปวดหัวจากความเครียด คือ ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่พอ หรือการกินข้าวผิดเวลาก็กระตุ้นได้เหมือนกัน
2. ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) เป็นภาวะปวดหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัวข้างเดียว หรืออาจปวดบริเวณรอบดวงตา แต่อาจจะสลับข้างที่ปวดได้ในแต่ละครั้ง บางครั้งอาจเกิดอาการปวดบริเวณรอบดวงตา ด้านหลังดวงตา หรืออาจลามไปบริเวณอื่นที่อยู่ด้านเดียวกันด้วย เช่น หน้าผาก ฟัน คอ หัวไหล่ เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง และอาจเกิดขึ้นหลายครั้งภายในวันเดียว โดยอาการที่เกิดมักจะยาวนานประมาณ 15-180 นาที และความถี่ที่แสดงอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวทุก ๆ 2 วัน แต่บางรายอาจมีอาการมากถึง 8 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาการปวดอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตื่นหลังจากที่นอนหลับไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจทำให้ผู้ป่วยต้องทำร้ายตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปวด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในขณะที่ปวดหัวอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง น้ำมูกไหล เวียนหัว รูม่านตาหดเล็กลง เปลือกตาหย่อนหรือบวม คัดจมูกหรือมีน้ำมูก เกิดรอยแดงหรือมีเหงื่อออกบนใบหน้า เป็นต้น
3. ปวดหัวแบบไมเกรน (Migraine headache) เป็นอาการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะๆ ปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้าง เนื่องจากมีจุดหรือแหล่งกำเนิดที่ทำให้ปวดหัว ส่วนมากอยู่บริเวณก้านสมอง มีการส่งสัญญาณทางระบบประสาท เพื่อไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบหลอดเลือดของสมอง รวมทั้งการส่งผ่านสัญญาณของเส้นประสาทมาทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่รับความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและศีรษะ อาจทำให้บางครั้งเริ่มต้นปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าเป็นมากอาการปวดก็สามารถกระจายไปยังศีรษะทั้งสองข้างได้ หรืออาจปวดหัวย้ายไปมาสลับกันระหว่างซ้ายและขวา หรือบางครั้งมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนแรงร่วมด้วย ในบางกรณีอาจมีความไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น อาจมีอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงต่อเนื่องไปถึงหลายวัน
โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 อย่างรุนแรง เช่น ประเทศออสเตรเลีย อเมริกา หรือแคนาดา โดยมีอัตราการเพิ่มสูงสุดถึง 50% จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคไมเกรนนั้นเป็นโรคที่ไกลตัวเรา
นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนยังรวมถึง การเปลี่นแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน การใช้ยาบางชนิด การนอนหลับไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ การดื่มคาเฟอีน การอดอาหาร หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปด้วยเช่นกัน โดยจะแบ่งอาการเป็น 4 ขั้น ได้แก่ ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome) ระยะอาการเตือน (Aura) ระยะปวดศีรษะ (Headache) และระยะหลังจากปวดศีรษะ(Postdrome) ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการในทุกขั้นก็ได้
นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนยังรวมถึง การเปลี่นแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน การใช้ยาบางชนิด การนอนหลับไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ การดื่มคาเฟอีน การอดอาหาร หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปด้วยเช่นกัน โดยจะแบ่งอาการเป็น 4 ขั้น ได้แก่ ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome) ระยะอาการเตือน (Aura) ระยะปวดศีรษะ (Headache) และระยะหลังจากปวดศีรษะ(Postdrome) ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการในทุกขั้นก็ได้
ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome)
ระยะอาการบอกเหตุนี้ เป็นระยะที่จะเป็นก่อนมีอาการปวดศีรษะประมาณ 1-2วัน
1. อยากอาหาร | 2. ง่วงเหงาหาวนอน | 3. หดหู่ |
4. อยู่ไม่สุขหรืออยู่ไม่นิ่ง | 5. เหนื่อยล้า ไม่มีแรง | 6. หงุดหงิด |
7. ตึงกล้ามเนื้อคอบ่า | 8. บวมน้ำ | 9. ปัสสาวะบ่อย |
10. อารมณ์แปรปรวน | 11. ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม | 12. กระหายน้ำบ่อย |
ระยะอาการเตือน (Aura)
ระยะอาการเตือนนี้ คือระยะที่จะเกิดอาการจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อมกับการปวดไมเกรน ซึ่งการเตือนนี้มักค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาการของระยะเตือนนี้จะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีและอาจเกิดอาการต่อเนื่องเป็นชั่วโมง ระยะอาการเตือนสามารถเกิดได้หลายรูปแบบ ดังนี้ :
1. พูดลำบาก พูดติดๆขัดๆ | 2. มองเห็นแสงกระพริบ ๆ หรือสายตาพร่ามัว |
3. กล้ามเนื้อจะรู้สึกคล้าย ๆ จะอ่อนแรง | 4. มองเห็นรูปภาพเป็นรูปทรงต่าง ๆ ผิดขนาด |
5. ปวดเหมือนเข็มแทง หรือชาบริเวณหน้า, แขน หรือขา มักเป็นข้างเดียวกัน |
6. กล้ามเนื้อจะรู้สึกคล้าย ๆ จะอ่อนแรง |
7. เห็นแสงซิกแซก เห็นจุดแสงวาบ | 8. เวียนหัวบ้านหมุน |
ระยะที่เกิดอาการปวดศีรษะ (Headache)
ระยะที่เกิดอาการปวดศีรษะนี้ คือระยะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดไมเกรน เป็นระยะที่มีการปวดและความรุนแรงมากที่สุด โดยจะมีอาการตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงหรืออาจต่อเนื่องถึงหลายวัน ในบางรายอาจยังมีอาการจากระยะอาการเตือน (aura) ร่วมด้วย ในบางรายมีอาการเป็นลักษณะเฉพาะตัว แต่โดยทั่วไปมีอาการพื้นฐานร่วมกัน ดังนี้ :
1. มีความไวต่อแสงจ้า เสียงดัง และกลิ่นฉุนมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นทำให้อาการปวดหัวหนักขึ้น |
2. อาการปวดแบบตุบ ๆ หรือปวดหัวแบบสั่นๆ |
3. มีอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง | 4. วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม |
5. คลื่นไส้ อาเจียน | 6. ตาพร่ามัว |
7. จมูกตัน หายใจไม่สะดวก | 8. ปัสสาวะบ่อย |
9. ท้องเสีย | 10. ผิวหนังสีซีด |
ระยะที่หายจากการปวดศีรษะ (Postdrome)
ระยะที่หายจากการปวดศีรษะคือระยะสุดท้ายของไมเกรน ซึ่งจะเกิดหลังจากการเกิดไมเกรนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ป่วยมักมีความรู้สึกเหมือนคนเมาค้าง (hung over) และอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย :
1. อาการสับสบ มึนงง | 2. กล้ามเนื้ออ่อนล้า อ่อนแรง |
3. เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ | 4. หงุดหงิด |
5. มีความไวต่อแสงจ้า เสียงดัง และกลิ่นฉุนมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นทำให้อาการปวดหัวหนักขึ้น |
6. ไม่สบายเนื้อสบายตัว |