โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของกระดูกสันหลังเนื่องจากการมีอายุมากขึ้น โดยกระดูกสันหลังที่ผ่านการใช้งานมานาน จะส่งผลให้ กระดูก หมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อหลัง เสื่อมสภาพ และอาจเกิดจากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ ภาวะกระดูกคดงอผิดรูปแต่กำเนิด หรือจากการติดเชื้อ
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม แบ่งออกเป็น
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม แบ่งออกเป็น
- การเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุคือ
- วัยทำงาน ช่วงอายุ 20-50 ปี เกิดจากการทำงานมากกว่าปกติ เล่นกีฬา หรือใช้งานหลังอย่างหนัก ก้มเงย น้ำหนักตัวมากหรืออ้วน กล้ามเนื้อหลังและท้องไม่แข็งแรง และหมอนรองกระดูกเคลื่อน
- วัยชรา ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ และการใช้งานมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงของกระดูก โดยในผู้สูงอายุอายุ 65 ปี อาจมีอาการกระดูกงอกเพิ่มขึ้น และมีการเสื่อมของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อกระดูกสันหลังเสื่อม
- การติดเชื้อ เนื้องอก หรือโรคมะเร็ง
ลักษณะอาการ
อาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อม คือ
- ปวดหลัง ปวดคอ เป็นๆ หายๆ อาการมักเป็นเรื้อรัง และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง หรือขณะทำกิจกรรมต่างๆ
- มีอาการปวดเสียวร้าวมาที่สะโพก ขา น่อง เท้า หรือ คอ ไหล่ แขน มือ ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเวลาเปลี่ยนท่าทางขณะทำกิจกรรมต่างๆ อาการปวดร้าวนี้อาจมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทที่ไขสันหลังถูกกดทับจากภาวะกระดูกเสื่อม โดยอาการปวดที่บริเวณต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรค
- อาจมีการผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่น หลังคด หลังโก่ง หรือข้อกระดูกเลื่อน โดยสามารถเห็นภาพได้จากการเอกซเรย์
การรักษา
- ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) โดยไม่ควรทานอย่างต่อเนื่องเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะติดยาแก้ปวด
- การทำปรับสรีระ เช่น การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และการรักษาด้วยคลื่นอุลตร้าซาวด์
- การผ่าตัด โดยจะต้องผ่านการพิจารณาตามสมควรโดยแพทย์
- การแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม
การดูแลตนเองเมื่อมีโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
- ทำกิจกรรมต่างๆ ในท่าทางที่เหมาะสม
- ไม่ใช้งานหลังที่หนักหรือต่อเนื่องนานเกินไป
- หลีกเลี่ยงการก้มเงยฉับพลัน หรือการยกของหนัก
- ทำท่ากายบริหารอย่างสม่ำเสมอ
- ปรึกษาแพทย์และติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ