ในปัจจุบัน มีการใช้งานมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตมากขึ้น เปรียบเสมือนอวัยวะอีกส่วนในร่างกายเรา แต่ทว่าการใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น ร่วมกับการที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ การปวดศีรษะเรื้อรังในบางคน อาจเกิดจากความผิดปกติของคอ ตั้งแต่ใต้ฐานกะโหลกจนถึงกระดูกต้นคอ ซึ่งมักจะมีอาการปวดบริเวณศีรษะ และใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง แต่ในบางคนที่มีอาการเรื้อรังมานาน อาจรู้สึกปวดทั้ง 2 ข้าง อาการปวดชนิดนี้เราจะเรียกว่า Cervicogenic headache ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดศีรษะที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มชนิดที่ 2 (secondary headache) เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ แล้วส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ การปวดศีรษะนี้มักจะทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากอาการที่เป็นมักใกล้เคียงกับภาวะปวดศีรษะชนิดอื่นได้ เช่นไมเกรน หรือ Tension type headache

 

อาการที่พบได้บ่อย

  • ปวดศีรษะแบบตื้อๆ ซึ่งอาการปวดจะอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • อาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง แต่ในบางคนที่มีอาการปวดมากๆ อาจจะรู้สึกทั้ง 2 ด้าน
  • อาการปวดคอ บ่า ไหล่ และแขน ด้านเดียวกับที่มีอาการปวดศีรษะ
  • อาการปวดจะเริ่มจากด้านหลังของต้นคอ ขึ้นไปที่ศรีษะ จากด้านหลังไปด้านหน้า ตา ขมับ และหู
  • อาการปวดศีรษะ อาจมีความเกี่ยวข้องการเคลื่อนไหวของคอที่ผิดปกติ
  • คอแข็ง
  • อาการตึงของกล้ามเนื้อคอ รวมถึงมีจุดกดเจ็บในบริเวณนั้น
  • ตามัวข้างหนึ่งสาเหตุการเกิดอาการปวดศีรษะชนิ

ดนี้ คือการอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมในขณะนั่งหรือยืน ในปัจจุบันมีการใช้มือถือ หรือคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้เกิดการยื่นคอไปด้านหน้า หรือเรียกว่า forward head posture ซึ่งการที่อยู่ในท่านี้นานๆจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักของศีรษะไปลงที่คอมากขึ้น โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนคอด้านบน (Upper cervical spine) และกล้ามเนื้อรอบๆบริเวณต้นคอ บางคนอาจจะมีอาการปวดศีรษะจากความผิดปกติของคอ หลังจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือเรียกว่า whiplash syndrome

 

การรักษา

การรักษาอาการปวดศรีษะชนิดนี้มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็น

 

กายภาพบำบัด

  • หัตถบำบัด เช่น การนวด การดัดดึงข้อต่อ เป็นการนวดกดจุด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ รวมถึงมีการขยับข้อต่อให้หายจากการติดขัดหรืออาการเจ็บปวด
  • ประคบร้อน หรือเย็น การประคบร้อนจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมากขึ้น ช่วยลดปวด และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ส่วนการประคบเย็นจะช่วยลดการอักเสบจากการบาดเจ็บกะทันหัน
  • ออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อลงได้
  • ไฟฟ้าบำบัด เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าที่จะช่วยกระตุ้นเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด และทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

แพทย์แผนจีน

  • ฝังเข็ม จะช่วยกระตุ้นบริเวณที่ปวด หรือมีอาการให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ลดอาการตึง ปวด สลายเลือดที่คั่งในร่างกาย
  • ฝังเข็มกระตุ้น เป็นการคลายจุดเจ็บในกล้ามเนื้อที่หดเกร็งค้างด้วยเข็ม หรือเรียกว่า Myofascial Trigger Point เข็มจะเข้าไปสะกิดให้เกิดการคลายตัวของ Trigger Point และช่วยให้อาการปวดหายไปได้
  • ครอบแก้ว เป็นการใช้แก้วมาลนไฟให้ร้อน เพื่อทำให้เกิดแรงดูดจากสุญญากาศ ส่งผลให้เกิดเลือดคั่งขึ้นในบริเวณนั้น และช่วยดึงกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด ที่อยู่ใต้บริเวณที่ครอบแก้ว ทําให้ระบบหมุนเวียนเลือดสมดุล ลดอาการปวด และคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้
Pain Away LINE Account
Book Appointment