คุณเคยมีอาการเจ็บ หรือปวดบริเวณข้อศอกมั้ย โดยเฉพาะด้านในของข้อศอก ถ้าใช่ คุณอาจจะมีภาวะ Medial Epicondyle Tendinopathy หรือที่เรียกว่า Golfer’s elbow
 
โรคข้อศอกนักกอล์ฟ (Golfer’s elbow) เป็นการอักเสบบริเวณด้านในข้อศอกของกลุ่มกล้ามเนื้อ flexor group ที่ทำหน้าที่งอข้อมือ นิ้วมือ รวมถึง คว่ำมือ โดยมักเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้มีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านใน ในบางครั้งอาจรู้สึกปวดร้าวลงไปที่แขน ข้อมือ นิ้วมือทางฝั่งด้านนิ้วก้อย และถ้ายังคงทำกิจวัตรตามปกติก็จะส่งผลให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น แล้วเกิดการอักเสบ มักพบในกลุ่มผู้ที่เล่นกอล์ฟเป็นประจำ เนื่องจากการตีกอล์ฟนั้นจะใช้งานกล้ามเนื้อ flexor pronator ค่อนข้างหนัก จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย
 

อาการ

  • ปวดบริเวณข้อศอกทางด้านในใกล้ปุ่มกระดูก บางครั้งอาจรู้สึกอาการปวดวิ่งลงมาที่แขนด้านใน และข้อมือ
  • มีอาการอ่อนแรงที่ข้อมือ และมือ โดยเฉพาะแรงบีบมือ
  • รู้สึกว่าข้อศอกติด ขยับไม่ได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว
  • ในบางกรณีอาจรู้สึกชาร้าวลงไปถึงนิ้วนาง และนิ้วก้อย
  • มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อกระดกข้อมือขึ้นในขณะที่เหยียดข้อศอก ร่วมกับมี หรือไม่มีแรงต้านก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็น
  • อาการปวดมากขึ้นเมื่อทำท่าดังต่อไปนี้ การจับมือ (shake hands), การสวิงกอล์ฟ, ยกของ, หยิบของ, กระดกข้อมือขึ้น และหมุนลูกบิดประตู
 

สาเหตุ

 
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณข้อศอกนี้ได้ คือ การใช้งานซ้ำๆ มากเกินไป หรือมีแรงตึง หรือแรงสะบัด ที่ส่งผลต่อเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จนเกิดการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะบริเวณข้อศอกในระดับเซลล์ หรือในบางรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงมากก็อาจเกิดการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อขึ้นได้ ไม่ใช่แค่นักกอล์ฟที่เกิดการบาดเจ็บในลักษณะนี้ได้ การเล่นกีฬาชนิดอื่น หรือการทำกิจกรรมแบบเดิมซ้ำๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บๆได้ เช่น การขว้างลูก เป็นต้น
 
 

การรักษา

การรักษาทางกายภาพบำบัด
 
  1. ควรใช้หลักการรักษา ‘PRICEMM’ (P = prevention/protection, R = rest, I = ice, C = compression, E = elevation, M = modalities and M = medication):
  2. หยุดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด
  3. ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด 3-4 ครั้งต่อวัน ประมาณ 15-20 นาที
  4. รับประทานยาประเภท non-steroidal anti-inflammatory medication (NSAID)
  5. ใช้ผ้ารัดข้อศอก
  6. ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น ultrasound and high-voltage galvanic stimulation เพื่อช่วยลดอาการปวด
 

Manual therapy (เทคนิคบำบัดด้วยมือ)

  • การขยับข้อต่อ (Mobilization)
  • การนวดคลายกล้ามเนื้อ (Soft-tissue massage)
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แขน มือ หรือแม้กระทั่งหัวไหล่
  • การคลายหรือลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ  โดยอาศัยกลไกของระบบประสาทอัตโนมัติเข้ามาช่วย (Muscle Energy Techniques (METs))
 

การออกกำลังกาย

  1. Isometric exercise หรือ static exercise คือการออกกำลังกายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของความยาวกล้ามเนื้อที่ไม่ปลี่ยนแปลง และการยืดเหยียด
  2. การออกกำลังกายแบบที่มีแรงต้าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่นการใช้ลูกบอล หรือยางยืด (resistance band)
 
ตัวอย่างท่าออกกำลังกาย
 
  1. Ball squeezes: บีบลูกบอลในมือ ค้างไว้ 5-10 วินาที 10 ครั้ง 3 เซต
  2. Resisted forearm pronation and supination: ถือถุงทราย หรือดัมเบล วางแขนบนโต๊ะ จากนั้นคว่ำมือลง หงายมือขึ้น สลับไปมา
  3. Resisted wrist flexion: ถือถุงทราย หรือดัมเบล วางแขนไว้บนโต๊ะ หงายมือขึ้น จากนั้นให้กระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5-10 วินาที 10 ครั้ง 3 เซต
  4. Wrist flexor stretching: เหยียดแขนข้างที่มีอาการมาด้านหน้า หงายมือขึ้น ใช้มืออีกข้างหนึ่งดันฝ่ามือเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง 2-3 เซต
 
การรักษาตามหลักแพทย์แผนจีน
 
  1. การฝังเข็ม (acupuncture): การฝังเข็มลงไปตามจุดจำเพาะของร่างกาย ตามหลักของแพทย์แผนจีน ซึ่งจุดเหล่านี้จะอยู่ตามเส้นลมปราณหลักทั้ง 12 เส้น การใช้เข็มฝังบริเวณที่เป็นเส้นทางเดินของพลังงาน หรือที่เรียกว่า ชี่ เช่นบริเวณที่มีพลังงานไหลเวียนติดขัด จะช่วยให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยระบายเลือดที่คั่งเนื่องจากการไหลเวียนไม่ดีให้ไหลเวียนดีขึ้น บำรุงให้ความชุ่มชื้น ซ่อมแซม และฟื้นฟูร่างกายที่เสียสมดุลไปให้กลับเข้าสู่สมดุล
  2. การครอบแก้ว (cupping): การใช้ไฟ ทำให้เกิดสูญญากาศในแก้ว นำไปครอบยังบริเวณผิวหนัง ผิวหนังจะถูกดูดด้วยแก้วที่เป็นสูญญากาศ จนเกิดการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้น จะเป็นการปั๊มเลือดเข้าสู่ กล้ามเนื้อบริเวณที่ทำการครอบเเก้ว หลอดเลือดฝอยขยายตัวขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อได้รับเลือดออกซิเจนมากขึ้น กระบวนการซ่อมแซมจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น การครอบแก้วสามารถลดาการปวดได้
  3. ทุยหนา (การนวดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน): การนวดทุยหนาจะเป็นการกด การคลึง การถู การบีบ การดีด หรือการคลึง ไปตามจุดต่างๆ ของเส้นลมปราณบนร่างกาย เพื่อรักษาอาการทั้งในบริเวณที่ต้องการ และเป็นการกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ ได้ดีขึ้น
 
 
References
 
 
 
 
กภ.ชวิศา วศินชัชวาล
Pain Away LINE Account
Book Appointment