- ภาวะที่เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน
ในภาวะนี้จะทำให้เกิดความบกพร่องของการส่งกระแสประสาทไปยังเป้าหมาย ทั้งนี้ในบางรายพบว่าอาจมีการลดลงของกำลังกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทนั้นๆที่เลี้ยงอยู่ร่วมด้วย อย่างเช่น ภาวะเครียดมีการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอเป็นเวลานาน มีการกดทับเส้นประสาทที่คอ (peripheral nerve entrapment) ผู้ป่วยอาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขนหรือมือเมื่อทำการตรวจเปรียบเทียบกำลังกล้ามเนื้อของทั้งสองข้าง
- ภาวะปลายประสาทอักเสบ
ในภาวะนี้เราสามารถพบเห็นได้ส่วนมาก เช่นในเบาหวาน เนื่องจากเบาหวานที่เป็นภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง การที่มีน้ำตาลในเลือดสูงนั้นจะมีผลทางเคมีต่อการเส้นประสาทและการส่งกระแสประสาท
- ภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง
ในภาวะนี้จะเป็นอาการชาซึ่งจะเกิดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองบางรายเท่านั้น เนื่องจากพยาธิสภาพจะเกิดที่ส่วนของเปลือกสมองซึ่งทำหน้าที่ประมวลข้อมูลต่างทั้งการรับความรู้สึกและการสั่งการ ดังนั้นหากเกิดรอยโรคขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีอาการปวดตึง และ/หรือ ชามือ แขน ขาหรืออวัยวะอื่นๆได้
การรักษาอาการชาด้วยวิธีทางปรับสรีระ
เนื่องจากอาการชาเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทโดยตรง การรักษาทางปรับสรีระจึงเน้นการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นประสาทผิวหนัง (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation: TENS) เพื่อลดความเจ็บปวด และอาการชา นอกจากนี้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอาจใช้ compression หรือการกดบริเวณที่มีอาการ เพื่อลดอาการชาได้
หากในกรณีที่อาการชาเกิดขึ้นจากการกดเบียดหรือกดทับของกล้ามเนื้อ/นื้อเยื่อต่างๆบริเวณเส้นประสาท การรักษาจะทำได้โดยการลดแรงตึงของกล้ามเนื้อที่กดเบียดเส้นประสาทนั้นๆก่อน เพื่อให้เส้นประสาทนั้นๆได้ทำงานอย่างปกติ ซึ่งมีหลายๆวิธีที่สามารถเลือกใช้ในลดแรงตึงของกล้ามเนื้อ/เนื้อเยื้อเหล่านี้ได้ แค่เพียงเท่านี้ อาการชา อาการปวดก็สามารถลดลงหรือหายได้