หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
(Herniated Nucleus Pulposus)
กายวิภาคศาสตร์ของกระดูกสันหลัง (Anatomy of the Spine)
กระดูกสันหลัง (Spine หรือ Vertebral column) เป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่อไขสันหลัง (spinal cord) และรากประสาท (spinal nerve root) เป็นจุด 4 ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นกระดูก ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวและความมั่นคงแก่ร่างกาย กระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 5 ส่วน
- กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical vertebra) 7 ชิ้น
- กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebra) 12 ชิ้น
- กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar vertebrae) 5 ชิ้น
- กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacral vertebrae) 5 ชิ้น
- กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (coccyx vertebrae) 4 ชิ้น
โดยแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกันโดยมีช่องกระดูกสันหลังทางด้านหน้า (spinal canal) มีหมอนรองกระดูก (intervertebral discs) รองรับน้ำหนักอยู่ ช่วยในการเคลื่อนไหว ป้องกันไขสันหลังที่ทอดอยู่ภายในอีกด้วย และทางด้านหลังเชื่อมต่อกันโดย ข้อต่อ facet joint หรือ zygapophyseal joints สองข้าง เสริมความแข็งแรงด้วยกล้ามเนื้อกระดูกสันหลัง (spinal muscles) และเอ็นยึดกระดูกสันหลัง (spinal ligaments) กระดูก sacrum และกระดูก coccyx ไม่มี intervertebral disc จึงรวมเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียว โดยกระดูกสันหลังส่วนคอ(cervical spine) จะโค้งไปทางด้าน(lordosis curve) หน้าส่วนอก(thoracic spine) จะโค้งไปทางด้านหลัง(kyphosis curve) ส่วนเอวหรือหลังส่วนล่าง(lumbar spine) จะโค้งไปทางด้านหน้า(lordosis curve)
โครงสร้างของกระดูกสันหลัง (typical vertebrae) ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ vertebral body และ vertebral (neural) arch เป็นโครงสร้างล้อมรอบ spinal canal ซึ่งเป็นที่อยู่ ของไขสันหลัง แต่ละระดับของไขสันหลัง (spinal cord segments) จะให้แขนงของรากประสาท (spinal nerve root) แยกออกผ่านช่องเส้นประสาท (intervertebral foramen) ความมั่นคงของกระดูกสันหลัง (spinal stability) ขึ้นอยู่กับตัวของกระดูกเอง facet joint, intervertebral disc, spinal ligaments โดยเฉพาะ interspinous ligament, supraspinous ligament และ paraspinal musculature
กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae)
ลักษณะเฉพาะของกระดูกสันหลังส่วนคอคือ การเรียงตัวของ facet joint อยู่ในแนวขวางทำให้กระดูกสันหลังระดับนี้สามารถเคลื่อนไหวทุกทิศทาง
- C1 vertebra หรือ Atlas เป็นกระดูกสันหลังที่ต่อกับกะโหลกศีรษะโดยตรง ลักษณะที่สำคัญคือจะไม่มีส่วนของ body แต่ตรงกลางจะเป็นช่องเปิดใหญ่ บริเวณผนังด้านข้างของช่องนี้ทางด้านบนจะเป็น จุดต่อกับปุ่มท้ายทอยของกะโหลกศีรษะ “atlanto-occipital joint” ขณะที่ส่วนด่านล่างจะต่อกับ superior articular process ของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่สอง
- C2 vertebra หรือ Axis จะมีลักษณะที่พิเศษคือ มี odontoid process หรือ den ที่ยื่น ขึ้นไปด้านบน นอกจากนี้ที่บริเวณด้านข้างเยื้องไปทางด้านบนเล็กน้อยของ dens จะมีรอยบุ๋มเล็กๆ ทั้ง สองด้าน ซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็น alar ligaments ป้องกันการหมุนที่มากเกินไประหว่างศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอ
- C3-C6 vertebra facet joints of lower cervical spine ทำมุมกันประมาณ 45 องศาเมื่อมองจากด้านข้าง ตรงกลางที่ spinous process ซึ่งมีลักษณะเป็น bifid และมีขนาดสั้น ตรงกลาง transverse processมี foramen transversarium ซึ่งมี vertebral artery ทอดผ่านด้านหลังของ vertebral artery แต่ละระดับจะมีcervical nerve root ทอดผ่าน ไปสู่ intervertebral foramen
- C7 vertebra spinous process มีขนาดใหญ่ยาวและไม่เป็น bifid process สามารถคลำได้จากการตรวจร่างกาย pedicle กลับมีขนาดใหญ่เหมือนกระดูกสันหลังส่วนอก
กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic spine)
มี 12 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนอก มีลักษณะเว้าเข้าทั้งสี่ด้าน ปล้องกระดูกสันหลังใหญ่ละแข็งแรงมี ส่วนที่ต่อกับส่วนหัวของกระดูกซี่โครง มี transverse process หนาไม่มีรู แต่ด้านหน้ามีรอยต่อกับ tubercle ของกระดูกซี่โครงยกเว้นอันที่ 11และ 12 เท่านั้น spinal process ยาวและชี้ลงล่าง
กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine)
Lumbar vertebral body มีรูปร่างคล้ายไต มีขนาดใหญ่กว่าปล้องกระดูกสันหลังส่วนอื่น เนื่องจากต้องทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักมากกว่า บริเวณอื่นๆ ส่วนของกระดูกที่อยู่ระหว่าง superior และ inferior articular process ระดับใดระดับหนึ่งเรียกว่า pars interarticularis ซึ่งเป็นบริเวณที่แบกรับน้ำหนักมาก facet joints ทำหน้าที่หลักในการเคลื่อนไหวและแบกรับน้ำหนักบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว Bony process เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก ประกอบด้วย spinous process, transverse process และ mammillary process
กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (Sacrum)
ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น เชื่อมต่อกันโดยไม่มีหมอนรองกระดูกสันหลังมาคั่น มีขนาดใหญ่ รูปร่างสามเหลี่ยมคล้ายลิ่ม ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและความมั่นคงต่อกระดูกเชิงกราน (pelvis) ช่วยกระจายแรงจากกระดูกสันหลังไปยังกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง และยังเป็นผนังด้านหลังของช่องเชิงกราน รูปร่างของกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ จะมีลักษณะโค้งและเอียงไปทางด้านหน้า ผิวด้านหลังจะมีลักษณะนูน ไม่เรียบ มีสันในแนวกึ่งกลางเรียกว่า median sacral crest ซึ่งเกิดจากการเชื่อมกันของ sacral spinous process ส่วนปลายของกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ เป็นรูเปิดเรียกว่า sacral hiatus ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของ spinal canal
กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccyx)
มี 3-5 ชิ้นเป็นจุดสิ้นสุดของกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อกระดูกของผนังเชิงกราน
หมอนรองกระดูก (intervertebral disc)
มีลักษณะรูปทรงกระบอกสั้นๆ มีความสูงประมาณ 1/4 ของความสูงปล้องกระดูกสันหลัง หรือประมาณ 6-8 มิลลิเมตร จะอยู่ระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ทำหน้าที่ช่วยกระจายแรงกดทับของข้อต่อ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
- เนื้อเยื่อด้านนอก (Annulus fibrosus) มีลักษณะเหนียว ขอบพังผืดของหมอนรองกระดูกประกอบด้วย fibrocartilage เป็นชั้น ๆ เรียงเป็นวง ๆ ซึ่งทอดเฉียงจากกระดูกสันหลังอันหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง
- เจลด้านใน (Nucleus pulposus) ส่วนแกนกลางของหมอนรองกระดูกนี้ มีความเป็นกระดูกอ่อนมากกว่าพังผืด จึงยืดหยุ่นได้มาก องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำ ทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกสำหรับแรงกระทำตามแนวแกนและทำหน้าที่เหมือน semifluid ball bearing ในการก้ม เงย บิดหมุนและเอียงข้างของลำกระดูกสันหลัง ป้องกันไม่ให้สารนํ้าใน nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก ไม่มีหลอดเลือดหล่อเลี้ยง ได้รับอาหารโดยการซึมผ่านออกมาจากหลอดเลือดที่ส่วนขอบของ annulus fibrosus และจากผิวข้างเคียงของ body กระดูกสันหลัง
เมื่ออายุมากขึ้น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างหมอนรองกระดูกสันหลัง ปริมาณน้ำลดลง ส่งผลให้ความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังลดลง ความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกลดลง มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อพังผืดที่อยู่โดยรอบทั้งในแนวเส้นรอบ วงและตามแนวรัศมี ทำให้ส่วนที่อยู่ใจกลางแตกปลิ้นออกมาตามรอยฉีกขาดของส่วนที่เป็นพังผืดได้ ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมานี้ จะไปรบกวน หรือกดเบียดทับรากประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน (Herniate Nucleus Pulposus)
หรือเรียกสั้นๆว่า HNP คือ โรคที่ เกิดจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง (Disc) ซึ่ง การเคลื่อนหมายถึง ภาวะการยื่น ปลิ้นหรือแตกออกมา มัก เกิดขึ้นหลังจากที่มีการเสื่อมของ disc ซึ่งจะเริ่มมีการฉีก ขาด Annulus fibrosus ซึ่งเมื่อมีการทำกิจกรรมในท่าทาง ทีมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น การก้มยกของหนักๆก็ จะทำให้เกิดการฉีกขาดที่รุนแรงขึ้นทำให้ disc เกิดการโป่ง นูนและยื่นทะลักออกมา แล้วอาจจะกดทับเส้นประสาท หรือไม่ก็ได้ นอกจากนี้ภาวะ HNP ยังสามารถเกิดขึ้นได้ใน คนทำงานที่ยังไม่มีภาวะเสื่อมของ disc ได้เช่นกัน
ระดับความรุนแรงของการปลิ้นของหมอนรองกระดูกสันหลังออกเป็น 4 ระดับ
ระดับที่ 1: Bulging disc หรือ Intraspongi nuclear herniation คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกมีความผิดปกติ หมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อม มีการเคลื่อนของเจลด้านในเล็กน้อย แต่ยังมีไม่การเปลี่ยนแปลงและฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก
ระดับที่ 2: Protrusion คือ มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร เริ่มมี nucleus pulposus ไหลออกจากแนวกลางของ disc เข้าไปแทรกอยู่ ในส่วนของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา และทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงรูปร่าง คือเกิดการโป่งนูนของ annulus fibrosus ออกมาทางด้านข้าง ส่งผลทำให้รากประสาท (nerve root) ถูกกดทับได้ ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆหายๆ
ระดับที่ 3: Extrude intervertebral disc rupture คือ ภาวะที่ nucleus pulposus ไหลออกจาก แนวกลางของหมอนรองกระดูกผ่าน annulus fibrosus เข้าสู่ spinal canal แต่ยังไม่เป็นก้อนอิสระ เมื่อมีการยื่นทะลักออกมาจึงสามารถทำให้เกิดการอักเสบรอบๆได้ เกิดเป็นพังผืดไปกดรัดรากประสาท ส่งผลให้เส้นประสาทได้รับความบอบช้ำค่อนข้างสูง เพราะนอกจากจะได้รับแรงกดจากตัวหมอนรองกระดูกที่ยื่นออกมาแล้วยังได้รับแรงกดจากพังผืดรอบๆด้วย ภาวะนี้ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดหลังค่อนข้างรุนแรงและมักมีร้าวลงขาร่วมกับอาการชาด้วย
ระดับที่ 4 : Sequestered disc คือ nucleus pulposus เคลื่อนออกมาจาก annulus fibrosus ทะลุผ่าน เข้าสู่ spinal canal เต็มที่ หลุดเป็นก้อนอิสระหลุดลอยอยู่ใน spinal canal ไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดผู้ป่วยมัดเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว
การแบ่งลักษณะของการยื่นของ Disc
- 1. Shoulder type (lateral nerve root type ) คือมีการยื่นหรือปลิ้นของdisc ออกมาอยู่ด้านข้าง ซึ่งทำให้ไปกดเบียดรากประสาทที่ออกมาขากไขสันหลังอีกที ผู้ป่วยจะมีการเอียงตัวไปทางด้านตรงข้ามกับความเจ็บปวด
- Axillary type (central nerve root type) คือมีการยื่นหรือแตกของdisc ออกมาอยู่ด้านใน (Medial) ต่อเส้นประสาท คล้ายกับแบบที่ 2 นะครับ แต่ต่างกันที่ตำแหน่งที่ปลิ้นออกมาเล็กน้อยคือ มันปลิ้นออกมาตรงกลางระหว่างรากประสาทและไขสันหลัง มีโอกาสที่จะไปกดเบียดได้ทั้งรากประสาทและเส้นประสาทไขสันหลังซึ่งผู้ป่วยจะมีการเอียงตัวไปด้านเดียวกับความเจ็บปวด
ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุของการเกิด
- การใช้งาน เช่น การยกของหนัก การทำงานแบกหาม หรือการทำงานโดยใช้เครื่องขุดเจาะ เป็นต้น
- การใช้งานผิดท่าจากหลักกายศาสตร์ เช่น การก้มๆ เงยๆมากเกินไปหรือการก้มยกของโดยไม่ระมัดระวัง เนื่องจากการก้มหรือยกของหนักหมอนรองกระดูกจะรับน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักที่ยกหลายเท่า จาก การศึกษาของ Trent
- Nessler เป็นนักกายภาพบำบัด เฉพาะทางด้านการกีฬาพบว่า การตีเบสบอลในท่าก้มตัวจะเพิ่ม แรงกดดันที่กระดูกสันหลังเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 เป็นความเสี่ยงของการกดอัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้านหน้า และ ในท่าแอ่นหลังจะเพิ่มแรงกด ร้อยละ 20 ต่อหมอนรอง กระดูกสันหลังด้านหลัง และการศึกษาของ Magee DJ. พบว่าท่านั่งมีแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง มากกว่าท่ายืน โดยทั่วไปแล้วท่าทางในการยืนหรือการนั่งมี ผลต่อแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังในทุกท่า เช่น การนอนคว่ำ (lying on stomach) จะมีแรงกด ร้อยละ 25 นอนตะแคง (side lying) ร้อยละ 75 ยืนท่าตรง ( Standing) ร้อยละ100 ยืนโน้มตัวไปด้านหน้า (Standing with lean forward) ร้อยละ 150 ท่ายืนก้มตัวยกของ (Standing with lean forward and lifting) ร้อยละ 220 ไม่รวมน้ าหนักของที่ยก ท่านั่ง (siting) แรงกดร้อยละ 140 ท่านั่งโน้มตัวไปด้านหน้า ( sitting with forward bending) ร้อยละ 185 และท่านั่งก้มตัวยกของ (sitting with Flexion and lifting) ร้อยละ 275
- การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะ ผู้ที่สูบบุหรี่มากๆ มีโอกาสเกิดการเสื่อมของหมอนรอง กระดูกหรือ หมอนรองกระดูสันหลังปลิ้นค่อนข้างมาก เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกสันหลังหรือกระดูกสันหลังไม่ได้ทำให้เสียคุณสมบัติการ ยืดหยุ่น การใช้งานไม่ค่อยดี ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเคลื่อนไหวตามมา
- ความอ้วน ส่งผลให้เกิดภาวะหลังแอ่น มากขึ้น เพราะอ้วนหมอนรองกระดูกมีโอกาสเสื่อมหรือแตก ปลิ้นได้ง่ายกว่าคนผอม
- กลุ่มที่ออกกำลังกายน้อย
การรักษาทางกายภาพบำบัด
อาการปวดหลังที่เกิดจากการยื่นของหมอนรองกระดูกสันหลังในระดับที่1 และ 2 สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้โดยการรักษาแบบประคับประคอง (Conservative treatment) มีผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่หลัง conservative treatment แล้วมีการดำเนินโรคเป็น chronic pain
แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด ได้แก่
1. การนอนพักผ่อน (Bed rest) ควรพักเพียง ระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นคือ พัก 1-2 วัน หรือจนอาการปวด เริ่มทุเลา ใน acute herniated disc
2. การดึงกระดูกสันหลัง (Pelvis/lumbar traction) วัตถุประสงค์ผลการดึงกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดกลไกลของการรักษา ดังต่อไปนี้ – มีการแยกห่างของ vertebral body
– ทำให้ facet joint มีการปรับตัวให้ อยู่ในแนวทางตามปกติ
– ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณ กระดูกสันหลังยืดออก
– เปลี่ยนแปลง spinal curves ลดการแอ่นของกระดูกสันหลังระดับเอว
– ลดการเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
3. การใช้เครื่องพยุงหลั ง (Lumbar-sacral support/corset) สำหรับ L-S support ไม่ช่วยการรับน้ำหนัก ของกระดูกสันหลัง และไม่สามารถจ ากัดการเคลื่อนไหว ของกระดูกสันหลังได้ 10% แต่เป็นตัวเตือนไม่ให้มีการเคลื่อนไหวของหลังมากเกินไป และช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังและลดความเจ็บปวดได้ ทั้งนี้ เพราะ L-S support จะช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลัง ทำให้กล้ามเนื้อได้มีโอกาสพักและคลายตัว
4. การใช้ความร้อน (Superficial heat and Deep heat) ในการลดปวด อุณหภูมิที่ใช้ในการรักษา (Therapeutic temperature) 39-44 องศา-เซลเซียส ซึ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายส่วนที่ได้รับความร้อนเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ metabolism เพิ่มขึ้นและจะเป็นตัวทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ เครื่อง Short wave diathermy, Microwave Diathermy, Ultrasound , and High power Laser, Hydrocolator เป็นต้น
5. การใช้กร ะแสไฟฟ้า ( Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation) การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง เป็นการกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดอาการเจ็บปวดที่ เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ เดิมทีนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการ เรื้อรัง แต่ภายหลังนำมาใช้หลังผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดแผล ผ่าตัด และในกรณีอื่นๆ
6. Mobilization หมายถึง การช่วยการเคลื่อนไหวชนิดหนึ่ง โดยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อโดยตรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. Accessory เป็นการช่วยการเคลื่อนไหวเพื่อลดความเจ็บปวด และทำให้การทำงานของข้อต่อนั้นๆดีขึ้น 2. Physiological เป็นการช่วยการ เคลื่อนไหวที่ทำเพื่อคงไว้ซึ่งหน้าที่การทำงานของข้อนั้น (Maintain function)
7. กา รให้ความรู้และการแก้ไขท่ าทาง (Education and correct posture)
8. การบริหารร่างกาย (Back exercise) การบริหารสำหรับผู้ป่วยปวดหลัง มีวัตถุประสงค์ดังนี้
– การเพิ่มความแข็งแรง (Strength) และความทนทาน (Endurance) ของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหลัง การที่หลังแอ่นมากทำให้เกิดความเครียดที่ข้อ facet มาก ขึ้นและแรงเฉือน (Shering force) ระหว่างกระดูกสันหลัง L5 กับ S1 มากขึ้น ผู้ป่วยที่หลังแอ่นมากจึงควรบริหารกล้ามเนื้อหน้า ท้องและ gluteus maximus ให้แข็งแรง เพื่อลดความแอ่น ที่หลังโดยการทำ Pelvic tiling exercise ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการออกกำลังกายแบบ McKenzie extension exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังกายท่าแอ่นหลัง
- เพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility) เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายและเปลี่ยนอิริยาบถได้คล่องแคล่ว ถ้ามีการจำกัด การเคลื่อนไหวของร่างกายจากการหดสั้นของกล้าเนื้อ เส้น เอ็น หรือการยืดติดของข้อ จะทำให้มีอาการเจ็บปวดเมื่อเคลื่อนไหวเกินขอบเขตของการหดสั้นหรือยืดติด ส่วนที่ มักจะมีการหดสั้นคือกล้ามเนื้อหลังส่วนเอว กล้ามเนื้อ Hamstring, Gastrocnemus, lliopsoas การยืดกล้ามเนื้อ เหล่านี้ออกจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและป้องกันการปวดหลังได้
- การบริหารเพื่อเพิ่มความมั่นคงของข้อต่อ (Spinal Stabilization Exercise) มีจุดประสงค์คือ การ Recondition key spinal stabilizers โดยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการประสานงานในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะต้องไม่ไปกระตุ้นอาการเจ็บปวดให้มากขึ้น
REFERENCES
นภาพร จันต๊ะรังษ.Physical Therapy in patient with Herniate Nucleus Pulpous.วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวลHua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal: ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560
วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล.ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท. ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[online].เข้าถึงได้จากhttp://ortho2.md.chula.ac.th/index.php
วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ. โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคที่ป้องกันได้. วารสาร feature focus. 2561
ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์.หลัง (back) vertebral column
Luciana AC Machado, Chris G Maher, Rob D Hebert, Helen Clare, James H McAuley. The effectiveness of the McKenzie method in addition to first-line care for acute low back pain: a randomized controlled trial. BMC Med. 2010; 8: 10
Popovic, E. (2010). Spinal cord and nerves. Retrieved June 5, 2010 from http://www.Popovic.com.au/lumbar-pain.html
Schroeder GD, Guyre CA, Vaccaro AR. The epidemiology and pathophysiology of lumbar disc herniations. Semin Spine Surg. 2016; 28(1): 2-7.
https://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/Back%20pain.pdf
http://www.pt.mahidol.ac.th
www.doobody.com
เครดิตภาพ
– http://www.coreconcepts.com.sg
– https://www.mychiro.com.my/spine/herniated-disc/fragmented-disc/