ปวดไหล่เกิดจากสาเหตุใด
ในคนเมือง (Shoulder Pain in Bangkok)
อาการปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเขตกรุงเทพและคนในชีวิตเมืองซึ่งอาการบ่งชี้ก็จะมีอาการปวดบริเวณต้นแขน ปวดด้านหลังหัวไหล่ ปวดบริเวณต้นคอและสะบัก โดยสาเหตุของอาการปวดไหล่อาจเกิดจากปัญหาของโครงสร้างในข้อไหล่เอง กระดูก กระดูกอ่อน เนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อถุงหุ้มเส้นเอ็นหรือเกิดจากกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าเป็นแล้วสะสม หรือเป็นมานานแล้วไม่รักษาก็จะทำให้เกิดอาการปวดไหล่เรื้อรังได้
วัยใดพบอาการปวดไหล่มากที่สุด
คนวัยทำงานในกรุงเทพมีแนวโน้มว่าจะมีอาการปวดไหล่มากขึ้นและอาจจะปวดไหล่เรื้อรังได้ เพราะด้วยลักษณะการใช้ร่างกายที่ผิด การอยู่ในท่าทางเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน รวมไปถึงปัจจุบันคนในช่วงวัยนี้เริ่มให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย และบางคนอาจออกหักโหมมากเกินไปหรืออาจออกกำลังผิดท่า ไม่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน-หลังออกกำลังกาย จึงทำให้โอกาสที่จะบาดเจ็บที่หัวไหล่มีสูงขึ้น
ถ้าปล่อยไว้นานจะเป็นอย่างไร
หากปล่อยไว้นานจนมีอาการปวดไหล่เรื้อรังเมื่อเวลาผ่านไปอาการจะเป็นมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวข้อหัวไหล่ได้ลำบากมากขึ้น การเคลื่อนไหวที่ลดลงจะเป็นเกือบทุกทิศทาง จะทำให้
ยกแขนได้ไม่สุด เป็นระยะเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป จะจัดว่าเป็นอาการปวดไหล่เรื้อรังได้
- การนวดกดจุดเพื่อรักษาอาการปวดบ่า
- การนวดกดจุด ( Pressing Points)
กดจุด เป็นวิธีการบำบัดรักษา และบรรเทา หรือ แก้อาการ เจ็บป่วยภายในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวจีนให้การยอมรับเชื่อถือ และปฏิบัติกันมานาน และยังแพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรปและอเมริกา
การกดจุดมีวิธีการง่ายๆ คือ “การนวดกล้ามเนื้อชั้นลึกต่างๆบนร่างกายโดยใช้นิ้วมือซึ่งอาการของคนที่ปวดบ่ามักมี มีจุดกดเจ็บที่เรียกว่า trigger point ซึ่งจะอยู่บริเวณกล้ามเนื้อ levator scapulae และกล้ามเนื้อ trapezius ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อไม่สะดวก ส่งผลให้บางครั้งมีอาการร้าวไปยังศีรษะ บางรายอาจมีอาการมึนศีรษะร่วมด้วย
ท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อ
ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ (Neck Stretch)
สำหรับคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานจนปวดคอ เพราะจะช่วยยืดกล้ามเนื้อคอ
และทำให้กล้ามเนื้อไหล่ให้ผ่อนคลายมากขึ้น
วิธีบริหาร
- นั่งหลังตรง ยกแขนขวา อ้อมไปจับที่บริเวณหูข้างซ้าย
- เอียงคอไปทางด้านขวา ใช้มือขวาช่วยกดศีรษะไปทางขวาให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงที่บริเวณกล้ามเนื้อคอด้านซ้าย
- ค้างท่าไว้ 10-20 วินาที แล้วคลายท่า เปลี่ยนไปใช้มือซ้าย เพื่อยืดกล้ามเนื้อคอด้านขวา