ทุกคนรู้ดีว่าอาการปวดศีรษะเป็นโรคๆหนึ่ง เมื่อเราปวดศีรษะ เรามักจะทานยาเพื่อระงับปวด ยิ่งเราปวดศีรษะมาก เราก็จะยิ่งทานยาบ่อย จนเราเสพติดการทานยาแก้ปวด ซึ่งเราทุกคนรู้ดีว่าการทานยาบ่อยๆส่งผลเสียต่อร่างกาย การฝังเข็มนอกจากจะช่วยระงับอาการปวดได้แล้ว ยังสามารถขจัดอาการปวดศีรษะได้เป็นอย่างดี
อาการปวดศีรษะ หมายถึง การเจ็บปวดบริเวณส่วนบนของกะโหลกศีรษะนั่นคือจากคิ้วไปจนถึงส่วนล่างของท้ายทอย เป็นโรคที่พบได้บ่อยในระบบประสาท ปัจจัยที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า การมีประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การกระตุ้นทางจิตใจ การนอนไม่หลับ และอื่นๆ
อาการปวดหัวมีกี่ประเภท?
- อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ :
- ปวดหัวแบบตึงเครียด: เป็นการปวดศีรษะจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- ไมเกรน: อาการปวดศีรษะข้างเดียว (แต่ไม่เสมอไป) และมักมีอาการสั่นร่วมด้วย
- อาการปวดศีรษะอัตโนมัติแบบ Trigeminal ได้แก่ อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (มักพบบ่อยที่สุด), อาการปวดไมเกรนแบบเป็นช่วงๆ ,
อาการปวดศีรษะแบบปวดเส้นประสาทข้างเดียวแบบชั่วคราว และอาการปวดไมเกรนแบบถาวร
- อาการปวดศีรษะทุติยภูมิ: อาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคพื้นฐานเดิม
สาเหตุปวดศีรษะปฐมภูมิ
(1) ความเครียดระยะยาวและความเครียดทางจิตใจสูง: ความเครียดและความเครียดทางจิตใจในระยะยาวสามารถนำไปสู่การกระตุ้นและการยับยั้งของเปลือกสมองทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
(2) ท่าคอและไหล่ที่ไม่ถูกต้อง: การนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานาน ร่วมกับการนั่งที่ศีรษะ คอ และไหล่ผิดท่า ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งเป็นเวลานาน
ส่งผลให้หลอดเลือดบริเวณศีรษะและคอขาดการหดตัวคลายตัวหรือขาดเลือด ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
(3) โดนกระตุ้นโดยอาหารบางชนิด: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ สามารถกระตุ้นระบบประสาทและทำให้ปวดศีรษะได้
สำหรับผู้ที่มีอาการเส้นเลือดขอดที่ศีรษะไม่คงที่ การรับประทานช็อกโกแลต ชีสและของหมัก อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารน้ำบางชนิดในร่างกายได้ชั่วคราว ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
(4) ผลกระทบของยา: ยาเช่น nitroglycerin, cilostazol สามารถส่งผลต่อ vasomotor และทำให้ปวดศีรษะได้
(5) ปัจจัยการนอนหลับ: การนอนหลับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป การนอนไม่หลับ ฯลฯ อาจทำให้ปวดศีรษะได้
(6) อื่นๆ: ความเหนื่อยล้า ปวดประจำเดือน การตกไข่ และปัจจัยอื่นๆ อาจทำให้ปวดศีรษะได้เช่นกัน
สาเหตุปวดศีรษะทุติยภูมิ
- การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ, เนื้องอก หรือโรคหลอดเลือด
- การถอนตัวจากสารบางชนิด (เช่น กาแฟ)
- หู ตา จมูก ไซนัส ฟัน ช่องปาก หรือความผิดปกติทางโครงสร้างใบหน้าหรือกะโหลกศีรษะอื่น ๆ
- การติดเชื้อ
- โรคทางเมตาบอลิซึม
- โรคเส้นประสาทสมองและระบบประสาทส่วนกลาง
- โรคทางจิต เช่นโรควิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
ซึ่งการแพทย์แผนจีนแบ่งอาการปวดศีรษะออกเป็นสองประเภท คือจากภายนอกและภายใน
อาการปวดศีรษะจากภายนอก ได้แก่ อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการบุกรุกของลม ความเย็น และความร้อน
อาการปวดศีรษะจากภายใน ได้แก่ ปวดศีรษะจากตับหยางแกร่ง ปวดศีรษะจากเสมหะสกปรก ปวดศีรษะจากลิ่มเลือด ปวดศีรษะจากเลือดพร่อง และปวดศีรษะจากภาวะไตพร่อง เป็นต้น
นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งอาการปวดศีรษะตามเส้นลมปราณได้ เช่น เส้น TaiYang มักจะปวดบริเวณด้านหลังศีรษะถึงต้นคอด้านหลัง,
เส้น YangMing มักจะปวดบริเวณหน้าผากถึงแก้ม, เส้น ShaoYang มักจะปวดบริเวณด้านข้างศีรษะ และเส้น JueYin มักจะปวดบริเวณกลางกระหม่อมศีรษะถึงกระบอกตา
ตามทฤษฎีแพทย์จีนหลักการปวดศีรษะ เกิดจาการที่เส้นลมปราณติดขัด เมื่อเส้นลมปราณไม่ปลอดโปร่งทำให้เกิดอาการปวด หลักการรักษา
คือ ทำให้ชี่และเลือดผ่านเส้นลมปราณได้ปลอดโปร่ง ดังนั้นแพทย์จีนจะเลือกใช้จุดรักษาตามกลุ่มอาการและเส้นลมปราณควบคู่กันไป
เเนวทางป้องกัน
- หลีกเลี่ยงความเครียดที่มากเกินไป ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และอารมณ์อื่นๆ และรักษาเสถียรภาพทางอารมณ์
- รักษาความอบอุ่นในตอนเช้าและตอนเย็น หลีกเลี่ยงการทำงานหนักเกินไป และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามหลีกเลี่ยงแสงจ้าและสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง
- แก้ไขท่านั่งที่ไม่ดี ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อศีรษะและคอ หลีกเลี่ยงความตึงเครียดของกล้ามเนื้อศีรษะและคอในระยะยาว การนวดหรือประคบร้อนก็สามารถทำได้เช่นกัน
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด อาหารมันๆ และพวกเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือแอลกฮอลล์