ไฟโบรมัยอัลเจียคืออะไร
ไฟโบรมัยอัลเจียคือภาวะเรื้อรังที่มีลักษณะการปวดกล้ามเนื้อและเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายโดย the National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (NIAMS),ได้แสดงผลสำรวจพบว่าประชากรชาวสหรัฐอเมริกาอายุ18ปีเป็นต้นไป มีอาการไฟโบรมัยอัลเจียถึง 5 ล้านคนโดยประมาณ ซึ่ง80-90%เป็นผู้หญิง
อาการของไฟโบรมัยอัลเจีย
อาการหลักของไฟโบรมัยอัลเจียคือมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อและเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเป็นบริเวณกว้างทั่วทั้งตัว ซึ่งคนไข้ไฟโบรมัยอัลเจียมักจะพบว่าตนเองมีอาการปวดเรื้อรังจนเป็นเหตุให้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ซึ่งก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าตามมา ความเหนื่อยล้านั้นทำให้ยากลำบากต่อการออกกำลังกาย ทั้งที่การออกกำลังกายเป็นวิธีจัดการกับอาการไฟโบรมัยอัลเจียได้เป็นอย่างดี
ความเหนื่อยล้าและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในทุกทุกวันนั้นทำให้คนไข้เกิดความเศร้า ความหดหู่ ซึ่งความเศร้า ความหดหู่นี้ ยิ่งจะทำให้อาการนอนไม่หลับเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นเหมือนวัฐจักรกลับสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง ดังภาพข้างล่าง
อาการโดยทั่วไป มีดังนี้:
- อาการปวดตามกล้ามเนื้อและเจ็บตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเป็นบริเวณกว้าง
- อาการเจ็บและรู้สึกตึงบริเวณขากรรไกร
- อาการเจ็บและรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อเนื้อหน้า หรือกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียง
- ข้อติดหรือกล้ามเนื้อติดยามเช้า
- ปวดศีรษะ
- โรคต่างๆที่เกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติ
- โรคไอบีเอสหรือลำไส้แปรปรวน
- อาการปวดแระจำเดือน
- รู้สึกแปร๊บ รู้สึกชาตามมือเท้า
- รู้สึกร้อร้อนหนาวหนาว
- อาการขาอยู่ไม่สุข
- หลงหลงลืมลืม
- เหนื่อยล้า
สาเหตุ
ปัจจุบันเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้:
- การบาดเจ็บ
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ภูมิต้านทานตัวเองผิดปกติ เช่น โรคเอสแอลอีหรือโรคพุ่มพวง
- พันธุกรรม
- อาการปวดผิดปกติที่เกิดจากการนวด
- ความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกาย
- คุณภาพการนอน
ความแตกต่างระหว่างไฟโบรมัยอัลเจีย และมาโยเฟสเชียลเพนซินโดรม
อาการหลักที่เหมือนกันของทั้งโรคไฟโบรมัยอัลเจียและโรคมาโยเฟสเชียลเพนซินโดรมคืออาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว ทำให้การวินิจฉัยโรคมีโอกาสผิดสูง ดังนั้นการวินิจฉัยโรคจึงต้องทำอย่างละเอียด โดยพิจารณาจากข้อความแตกต่างของทั้ง2โรค ดังนี้ :
จุดปวดในกล้ามเนื้อในโรคมาโยเฟสเชียลเพนซินโดรมคืออะไร
ตามที่ www.meded.psu.ac.th ได้อธิบายถึงจุดปวดในกล้ามเนื้อ หรือ trigger point ไว้ว่าในกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่เป็น myofascial pain syndrome จะตรวจพบว่ามี taut band อยู่ taut band คือใยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะแข็งและมีอาการปวดเมื่อเราตรวจด้วยการคลำ เมื่อขยายดูส่วนของtaut band เราจะพบ trigger point(TrP) ซึ่งเป็นจุดเล็กๆที่มีความไวและก่อให้เกิดอาการปวด ซึ่งอาการปวดนั้นจะเกิดขึ้นเองก็ได้หรือเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดจากการคลำก็ได้
ลักษณะอาการปวดของ TrP จะมีลักษณะเฉพาะ คือก่อให้เกิดอาการปวดร้าวตามตำแหน่งเฉพาะของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ซึ่งแตกต่างกันไป(referred pain zone) และ trigger point จะมีความแตกต่างจากจุดปวดแบบ tender spot(TS) ตรงที่ tender spot นั้นจะปวดเฉพาะจุดที่มีพยาธิสภาพ แต่ไม่มีการปวดร้าวแบบ trigger point (จากรูปกากบาทสีขาวคือ trigger point ส่วนสีแดงคือลักษณะการปวดร้าวไปตามตำแหน่งต่างๆของ TrP)
การจำแนก TrP สามารถจำแนกได้หลายวิธี
- แบ่งตามอาการ
- Active TrP คือ TrP ที่แสดงอาการปวดขึ้นเองในสภาวะปกติ
Latent TrP คือ TrP ที่ไม่แสดงอาการในสภาวะปกติ แต่จะแสดงอาการปวดเหมือนactive TrP เมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น การกด - แบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการ Acute TrP คือTrP ที่มีอาการไม่เกิน 2 เดือน ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง
Subacute TrP คือ TrP ที่มีอาการมากกว่า 2เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน มักมีสาเหตุเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป(overload) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะกลายเป็น chronic TrP ได้
Chronic TrP คือ TrP ที่มีอาการมากกว่า 6เดือน ภาวะปวดเรื้อรังจาก chronic TrP นี้มักเป็นจากกล้ามเนื้อหลายๆมัดพร้อมๆกัน การรักษาที่สำคัญคือต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคและต้องกำจัดสาเหตุไป อาการปวดจึงจะหาย
จุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อของโรคไฟโบรมัยอัลเจียคืออะไร
จุดกดเจ็บของภาวะไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นบริเวณของร่างกายที่พบว่ามีอาการปวดอยู่บ่อยครั้ง ผู้ที่มีภาวะไฟโบรมัยอัลเจียต่างกล่าวว่า จุดกดเจ็บเป็นบริเวณที่เมื่อโดนกดแล้วจะรู้สึกเจ็บแปล๊บขึ้นมา จุดกดเจ็บ (Tender points) มีอยู่ทั้งหมด 18 ตำแหน่งด้วยกันทั่วร่างกาย (9 คู่) ซึ่งจุดกดเจ็บพวกนี้มักพบตามข้อศอก หัวไหล่ ข้อเข่า คอ สะโพก กระดูกหน้าอก และด้านหลังศีรษะ มักพบทั้งสองข้าง
การรักษาอาการไฟโบรมัยอัลเจียด้วยการฝังเข็ม
เป้าหมายของการรักษาจึงเป็นการประคับประคองอาการเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและบรรเทาอาการปวด
การฝังเข็มคือการกระตุ้นไปยังจุดฝังเข็มบนผิวหนังโดยปกติแล้วจะใช้เข็มยาวประมาณ 1 ถึง 10 เซ็นติเมตร ประมาณ 5 ถึง 15 เข็มต่อ 1 ครั้งการรักษาการกำกนดจุดที่จะฝังเข็มประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือจุดฝังเข็มที่เป็นพื้นฐานในการรักษาแต่ละโรค ส่วนหลังคือจุดฝังเข็มที่เกี่ยวข้องกับอาการเฉพาะของคนไข้นั้นๆ เพื่อปรับสมดุลของชี่ ซึ่งความลึกในการแทงเข็มนั้นสามารถลึกสุดได้ถึง 5 เซ็นติเมตร
ตามหลักทางการแพทย์แผนจีนได้แบ่งชนิดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้ :
1. ชี่ของตับพร่อง
อาการ : เหนื่อยล้า เศร้าสร้อย จิตตก ปวดหัว (รวมถึงปวดหัวจากไมเกรน) เริ่มมีอาการโกรธง่ายหงุดหงิดง่าย กล้ามเนื้อตึงบริเวณคอ ไหล่ นอนไม่หลับ ตื่นง่าย หลับยาก ลำไส้แปรปรวน อาการเหล่านี้อาจเกิดจากความเครียด
2. เลือดและชี่พร่อง
โดยเฉพาะชี่ของม้ามพร่อง เลือดของหัวใจพร่อง เลือดของตับพร่อง ซึ่งจะแสดงอาการต่างๆ เช่นเหนื่อยล้าเรื้อรั้ง เหนื่อยง่าย ปวดหัวตื้อๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา นอนไม่หลับ ตื่นง่าย อัตราการเต้นของหัวใจไม่ปกติ และหดหู่
3. ชี่และเลือดอุดตัน
อาการ : เจ็บและปวดทั่วร่างกาย ปวดแสบ ปวดเหมือนถูกแทะ มีอาการแปร๊บๆ ปวดหัว
4. ไตพร่อง (หยินหรือหยางหรือชี่ของไตพร่อง)
อาการ : ผู้ชายสมรรถภาพทางเพศลดลง ทั้งผู้ชายผู้หญิงความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง อาการอื่นๆ ปวดเอว ขาอยู่ไม่สุข กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนขาด กลุ่มอาการเริ่มต้นก่อนมีประจำเดือน มีอาการร้อนวูบวาบเหงื่อแตกตอนกลางคืน
จุดฝังเข็มพิเศษเพิ่มเติม
ฝังตามจุดกดเจ็บ (Tender points) มีอยู่ทั้งหมด18 ตำแหน่งด้วยกันทั่วร่างกาย (9 คู่) ดังนี้ :ข้อศอก หัวไหล่ ข้อเข่า คอ สะโพก กระดูกหน้าอกและด้านหลังศีรษะ ทั้งสองข้าง
ผลการรักษาจากการฝังเข็มมีประสิทธิภาพดี มีอาการที่ดีขึ้น ลดอาการเจ็บปวดได้ดี ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตามไปด้วย
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อมีอาการไฟโบรมัยอัลเจีย
อ้างอิงโดยNHS เมื่อพบว่าตนเองมีอาการไฟโบรมัยอัลเจีย คนไข้สามารถดูแลตนเองได้ดังนี้ :
- การออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินการปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ
- การออกกำลังกายเพิ่มสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การผ่อนคลาย
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนให้มีปริสิทธิภาพมากขึ้น
พจ.ธัญลักษณ์ พงศ์ศศิธร แพทย์แผนจีน