กลศาสตร์ (mechanics) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับแรงกระทำและงานหรือแรงลัพธ์(ผลลัพธ์)ที่เกิดขึ้น ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ

  • สถิตยศาสตร์ (statics) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับแรงที่กระทำต่อวัตถุในภาวะที่หยุดนิ่ง หรือมีความเร่งคงที่ ซึ่งผลของงานจะเท่ากับศูนย์
  • พลศาสตร์ (dynamics) ซึ่งศึกษาแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยมีการเคลื่อนไหวภายใต้ความเร่ง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของวัตถุและงานในทิศทางต่างๆ

กลศาสตร์เกี่ยวข้องกับอาการ MPS อย่างไร?

เนื่องจากระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหว เกิดงานหรือแรงลัพธ์ในทิศทางและรูปแบบต่างๆ ซึ่งมักเกิดการบาดเจ็บจากการทำงานบ่อยที่สุด เราจึงสามารถบอกได้ว่ากลศสาสตร์นั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการทำให้อาการ MPS คงอยู่
ในปัจจุบันมีแนวความคิดหนึ่งที่ได้รับความเชื่อถือว่ามีความสมบูรณ์แบบและสามารถนำมาเป็นแนวทางในการรักษาอาการนั่นคือหลักการยศาสตร์ (ergonomics) ซึ่งอธิบายไว้ว่า”การยศาสตร์เป็นหลักการทำงานที่มีเกี่ยวพันกันอย่างมีระบบระหว่าง งาน มนุษย์ เครื่องมือและสภาพแวดล้อม”

การค้นหาปัจจัยเสี่ยงในเพื่อทำการแก้ไข

อย่างที่ทราบกันว่า ergonomics เป็นการของสามสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวพันกัน ได้แก่

  • งาน เช่น
    • งานหนัก
    • งานซ้ำซ้อน
    • งานที่ต้องทำด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
  • ตัวบุคคล
    • การมีบุคลิกท่าทางที่ไม่ถูกต้อง จากความเคยชินของผู้ทำงาน
    • ความผิดปกติของโครงร่างของผู้ที่ทำงาน
    • พื้นฐานสมรรถภาพร่างกายในแต่ละบุคคล
  • อุปกรณ์ เครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่ทำงาน
    • อุปกรณ์เครื่องมือ สภาพแวดล้อม ไม่เอื้ออำนวยหรือเหมาะสมต่องาน
    • ภาวะที่กล้ามเนื้ถูกบีบรัดหรือกดทับ

การแก้ไข

  • ค้นหาสาเหตุของอาการให้ครอบคลุมทุกด้าน
  • ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบ บุคลิกท่าทางและพฤติกรรมในการทำงาน เพิ่มความตระหนักเพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมามีอาการเดิมหรืออาการปวดไม่หายไป
Pain Away LINE Account
Book Appointment