ในมุมมองของแพทย์สาขาระงับอาการปวด (Pain Medicine)
Chronic MPS, Migraine, Tension-type Headache เป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรังซึ่งมีกลไร่วมกันทางพยาธิสรีระ คือ เกี่ยวข้องกับภาวะสมองไว้ตต่อการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมากกว่าปกติ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญของภาวะนี้คือ ความเครียดทางด้านจิตใจ หากไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นปัจจัยทางด้านจิตใจที่ทำให้อาการของ TrP คงอยู่
การตอบสนองทางด้านจิตใจ
ทั้งปฏิกิริยาที่เหมาสมซึ่งถือว่าเป็นการสมเหตุสมผลที่เกิดขึ้น และการตอบสนองอันเนื่องมาจากกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง โดยประเด่นที่พบบ่อยและอาจถือว่าสำคัญที่สุดในกรณรีนี้คือ บ่อยครั้งที่จุดเริ่มต้นผู้ป่วยมาจาก TrP ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านร่างกายแต่ถูกมองว่าเป็นปัญหาด้านจิตใจ หรือข้ามการวินิฉัยไปเป็นโรคอื่น เมื่อ MPS ถมองข้าม ทำให้การรักษาไม่ตรงจุด อาการปวดของผู้ป่วยดำเนินสู้ภาวะเรื้อรั่ง มีปัญหาทางสุขภาพจิตตามมา ได่แก่ความกลัว ความวิตกกังวล ความเครียด ความท้อแท้ และสิ้นหวัง จนกลายเป็นปัยหาหลักที่รักายากกว่า TrP ซึ่งเป็นปัญหาด้านร่างกาย
มุมมองของผู้ให้การรักษา ที่พบบ่อยคือ การวินิจฉัย ได้แก่
- ทัศนะคติทมี่เชื่อว่าโรคนี้ม่ามีอยู่จริง หรือเชื่อว่าเป๋นปัญกหาทางสุขภาพจิต เนื่องจากอาการของ MPS มักปวดร้าวแปลกๆ
- จากการขาดความคุ้นเคย ขาดทักษะในการตรวจหา TrP ทำให้วินิฉัยผิกพลาด เพราะ MPS ให้อาการเลียนแบบโรคหรือภาวะอื่น ได้บ่อย
มุมมองของผู้ป่วย ทัศนะคติที่คลาดเคลื่อนของผู้ป่วยมักจะเกิดตามมาจากการรักษาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ความเรื้อรังของอาหารปวดมักชักนำผู้ป่วยให้แปลผลผิดไปในทางติดลบ ที่พบบ่อยในกรณีของ MPS ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าใจว่าอาจมีโรคร้ายแรงซ้อนอยู่ซึ่งแพทย์ตรวจำไม่พบจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ป่วยกลุ่มนนี้จะเปลี่ยนแพทย์หรือโรงพยาบาล หรือหันไปรักษากับแพทย์ทางเลือกมากขึ้น ตัวอย่างการตีความคลาดเคลื่อนของผู้ป่วยที่พบบ่อย เช่น กรณีที่ TrP อยู่ไม่ลึกมากนักเวลาอาการปวดกำเริบจะมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่จุดนี้ ผู้ป่วยหลายรายบอกว่าคลำได้เป็นก้อน บางร้ายกังวลว่าจะเป็ก้อนเนื้อร้าย
พฤติกรรมการเจ็บป่วย Illness Behavior หมายถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยหลังวจากได้ทราบผลการวินิฉัยซึ่งจะขึ้นอยู่ว่าผู้ป่วยต่าละรายจะให้ความหมายต่อการวินิจฉัยอย่างไร พฤติกรรมภาษกาย ที่พบบ่อยขณะทำการตรวจรักษา คือ แสดงถึงความวิตกกังวล กลัว ซึมเศร้า โกรธ ก้าวร้าว สำหรับผู้ป่วยรายที่มีการปรับตัวเกิดความเคยชินอยู่รวมกับอาการปวดเรื้อรังได้ พฤติกรรมจะแสดงออกมาในรูปแบบที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายใช้กลไกปกป้องตัวเองจากจิตใต้สำนึกเพื่อให้พ้นจากความเครียดหรือความขัดแย้งในใจ ด้วยการแสดงออกแบบตรงข้ามหรือไม่สอดคล้องกับความรู้สึกภายในที่แท้จริง เช่น แสดงสีหน้าร่าเริงคล้ายกับยว่ากำลังเล่าเรื่องหรืออาการของคนอื่นอยู่ทำให้คู่สนทนาคิดว่าผู้ป่วยคิดไปเองหรือไม่ได้ป่วยจริง
การแก้ไข หลักการการแก้ไขปัญหาหรืออาการปวดเรื้อรังคือ การเรียนรู้ถึงสาเหตุร่วมกับการปรับมุมมองและพฤติกรรมให้เหมาะสมกับปัญหา เป็นการรักษารูปแบบองค์รวมทั้งกายใจและสังคม โดยมีเป้าหมายของการรักษาคืออาการปวด แต่ที่สำคัญกว่า คือ ให้มีความมั่นใจที่จะอยู่ร่วมกับอาการปวดที่อาจหลงเหลือได้อย่างมีคุณภาพ
- การรักษาทางกาย Body Care ในกรณรีของ MPS การรักาทางร่างกาย คือ การรักษา TrP ซึ่งมักจะได้ผลเพียงระยะสั่น จำเป็นต้องทำการค้นหาปัจจัยที่ทำให้อาการยังคงอยู่เพื่อแก้ไข สำหรับวิธีรักษามีหลายบวิธีให้เลือกตามวิธีที่ผู้ป่วยชอบ
- การรักษาทางจิตใจ Mental Care ประกอบด้วย
- การบำบัดด้านความคิด (Cognitive Therapy) จัดเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดโดยให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดเรื้อรั่ง
- การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) ที่ใช้กันแพร่หลายคือการรักษาด้วยการพูดคุยให้กำลังใจ
- การทำพฤติกรรมบำบัด (Behavioral Therapy) ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ถูกต้องถือเป้นการรักษาทางจิตเวชซึ่ง
มุ่งเน้นควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมพร้อมกับส่งเสริมพฤตจิกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย