- ภาวะทุพโภชนาการ
- ภาวะบกพร่องฮอร์โมนบางตัว
- ภาวะติดเชื้อเรื้อรัง
- โรคภูมิแพ้
- ความผิดปกติการนอนหลับ
โดยความบกพร่องเหล่านี้มักแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ รุนแรง ปานกลาง และรุนแรงน้อย ซึ่งในระดับที่มีอาการของโรคแต่ไม่ชัดเจน เรียกภาวะนี้ว่า Inadequacy ซึ่งส่งผลให้กระบวนการเผาผลาญของเซลล์ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้กระตุ้น Latent TrP กลายเป็น Active TrP อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นอาการเดียวกับ MPS
1. ภาวะบกพร่องทางโภชนาการ (Vitamin Inadequacy)
ประชากรกว่า 80% มีภาวะพร่องวิตามินโดยไม่รู้ตัว วิตามินที่พบว่ามีการบกพร่องบ่อยที่สุด คือวิตามินที่ทำให้เกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง เช่น Folic Acid และวิตามินที่ละลายน้ำ ได้แก่ Vitamin B1, B6, B12 และ Vitamin C อยู่ในระดับ Inadequacy เนื่องจาก Coenzyme ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมปฏิกิริยาชีวเคมีของเนื้อเยื่อ สังเคราะห์มาจากวิตามิน B เป็นส่วนใหญ่ สาเหตุของ Vitamin Inadequacy ที่พบบ่อย เช่น ร่างกายได้รับไม่เพียงพอ การดูดซึมบกพร่อง เป็นต้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานมากกว่าปกติ (Overload) อาการหลักที่แสดง คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
2. ภาวะบกพร่องฮอร์โมนบางตัว (Metabolic & Endocrine Inadequacies)
Thyroid Hormone เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดในการหดตัวของกล้ามเนื้อ หากขาด Thyroid Hormone จะเกิดภาวะพลังงานบกพร่องจนอาจถึงจุดวิกฤติ (Energy Crisis) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการเกิด TrP อาการที่พบบ่อย คือ ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้าเรื้อรัง มือเท้าเย็น
3. ภาวะติดเชื้อเรื้อรัง (Infection & Infestation)
- ภาวะติดเชื้อไวรัส (Viral Infection) ในกรณีไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรงและนานกว่าปกติ
- ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Infection) เช่น ฝีรากฟัน (Root Abscess), ไซนัสอักเสบ (Sinusitis), ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection)
- การติดเชื้อปรสิต (Parasite Infestation) เช่น พยาธิไส้เดือนตัวกลม (Ascaris Lumbricoidis), พยาธิแส้ม้า (Trichuris Trichiura), บิดอมีบา (Entamoeba Histolytica) เป็นต้นซึ่งบิดอมีบาสามารถสร้างพิษต่อกล้ามเนื้อ (Myotoxin) กระจายไปในร่างกาย อาจเป็นสาเหตุชักนำให้เกิด TrP ง่ายกว่าปกติ
4. ภาวะภูมิแพ้ (Allergy)
อาจเกิดจากสาร Histamine ที่หลั่งออกมาเป็นสาเหตุให้ MPS มีอาการมากและรักษายาก
5. ความผิดปกติของการนอนหลับ (Impaired Sleep)
การนอนหลับในช่วง Stage IV Non-Rem Pattern เป็นสาเหตุทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือการนอนหลับทับ TrP หรือนอนในท่าที่ทำให้มัดกล้ามเนื้อที่มี TrP หดสั้นเป็นระยะเวลานาน จะกระตุ้นให้อาการปวดร้าว TrP มากขึ้น จึงเป็นการรบกวนการนอนหลับได้เช่นกัน