ปัญหาการปวดส่วนบนของร่างกายเป็นอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทีเพิ่มขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นจนหมือนเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปวดบริเวณบ่า หัวไหล่ และต้นแขน ซึ่งมักเป็นอาการปวดเรื้อรัง อาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานาน ๆ ซึ่งสามารถเกิดจากสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น
โรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (Cervical spondylosis)
การเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณคอที่มักพบในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือน แต่จะเริ่มมีอาการรุนแรงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นเป็น ที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อติดเวลาขยับ, ข้อผิดรูป และ สูญเสียการเคลื่อนไหวของข้อ ซึ่งเป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับข้อต่ออื่นๆ ในร่างกายที่ใช้รับน้ำหนัก ทำให้เกิดกระตุ้นหรือกดทับบริเวณใกล้ไขสันหลัง รากประสาท หลอดเลือด รวมทั้งเส้นประสาทซิมพาเทติกและยังส่งผลทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า หรือไหล่เรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปจนถึงบริเวณท้ายทอยได้
โรครากประสาทคอ (Cervical radiculopathy)
โรคนี้เป็นพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับรากประสาทบริเวณกระดูกสันหลังช่วงคอถูกกดเบียดหรือการอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการด้านที่มีพยาธิสภาพ เช่น ปวดตามรากประสาท ชาแขน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และ รีเฟล็กซ์ ลดลงหรือหายไป อาจมีการรับความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (Paresthesia) จากการที่เลือดไปเลี้ยงรากประสาทลดลง
ภาวะการกดทับของเส้นเลือดหรือเส้นประสาทบริเวณต้นแขนหริอกระดูกไหปลาร้า (Thoracic outlet syndrome)
เป็นภาวะที่เกิดจากการกดทับ การบาดเจ็บ หรือ การอักเสบของเส้นเลือดและเส้นประสาทบริเวณคอส่วนล่างใกล้กระดูกไหปลาร้าหริอต้นแขนทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบ่า คอ ต้นแขนหรืออาจมีอาการร้าวชาหรือเย็นมือร่วมด้วย โดยปกติจะกิดจากการทำงานที่ต้องใช้หัวไหล่และแขนต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ หรือการยกแขนลักษณะยกแขนเหนือศีรษะ จนเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณดังกล่าวซ้ำๆ เช่น พนักงานจัดเรียงสินค้า การนั่งห่อไหล่
เอ็นกล้ามเนื้อบ่าอักเสบ (Supraspinatus Tendinitis)
อาการปวดบ่าและหัวไหลาเกิดจากการหนีบของกล้ามเนื้อระหว่างปุ่มของกระดูกต้นแขนกับกระดูกไหปลาร้า ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อที่รอดผ่านถูกกดเบียด เมื่อกางแขนระหว่าง 45-160 องศา ส่งผลอาจทำให้มีอาการบวม และกล้ามเนื้อจะถูกหนีบระหว่างการกางแขนมักมีอาการปวดจะเกิดขึ้นในท่าห้อยแขนธรรมดา และกางแขนเต็มที่ เพราะว่าเป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อถูกยืดและโดนกดทับมากที่สุด
ข้อต่อหัวไหล่อักเสบ (glenohumeral arthritis)
อาการปวดหัวไหล่ที่พบมากในผู้สูงอายุถึง 1 ใน 5 หรือ 20% ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของพื้นผิวกระดูกอ่อนของข้อต่อ glenohumeral ทำให้เกิดการถูกันของกระดูก Humerus และ Glenoid จนทำให้เกิดการอักเสบ หากเกิดอักเสบเป็นเวลานาน ๆ จะเกิดการสร้างกระดูกงอก (bone spur) ขึ้นมาขัดขวางการเคลื่อนไหวของหัวไหล่
กลุ่มอาการปวดเนื้อเยื่อและพังผืดจากจุดกดเจ็บ (myofascial pain syndrome)
กลุ่มโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างเรื้อรังและเกิดอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดจุดกดเจ็บ (Trigger Point) ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย จุดกดเจ็บเกิดการใช้งานมัดกล้ามเนื้อเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ การเล่นกีฬาโดยใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ ทุกวัน เมื่อใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ กล้ามเนื้อจะเกิดการบาดเจ็บและเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนเรียกว่า จุดกดเจ็บ
แนวทางการป้องกันและรักษา
- การนวดและการยืดกล้ามเนื้อ
การนวดและการยืดกล้ามเนื้อที่ดีจากนักกายภาพบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญจะช่วยลดแรงตึงตัวภายในกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ ซึ่งจะช่วยลดการกดทับหรือรบกวนเส้นเลือดและเส้นประสาท นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหลเวียนโลหิตเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูและกระตุ้นให้ร่างกายร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนโดรฟินเพื่อช่วยลดอาการปวดอีกด้วย - การฝังเข็ม
การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้เกิดการคลายตัวของปมกล้ามเนื้อและการเรียงตัวใหม่ของใยกล้ามเนื้อทำให้ลดอากรปวดได้ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในบริเวณที่ฝังได้อีกด้วย - การประคบร้อน
การประคบความร้อนจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวด ความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อที่ตึงหรือเกร็งคลายตัวลงโดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการประคบไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส ไม่งั้นอาจกิดแผลพุพองได้ - การปรับสรีระ
การฝึกท่าทางหลังส่วนบน หัวไหล่และต้นแขนให้ถูกต้องตามหลัก body mechanic เช่น การฝึกการท่าผายไหล่ จะช่วยป้องกันสรีระหลังค่อมซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนบนไม่เกิดการทำงานมากเกินไปจนทำให้มีอาการปวดบริเวณดิมซ้ำ ๆ เรื้อรัง - การปรับพฤติกรรม
การหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อในลักษณะซ้ำ ๆ หรือขาดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ๆ เช่น การนั่งทำงานคอมพิวเตอร์หรือก้มหน้าใช้โทรศัพท์ติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรบริหารยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ ร่วมกับการแบ่งงานเป็นช่วงให้สอดคล้องกับความแข็งแรงของร่างกาย
ปัญหาปวดบ่าและหัวไหล่นั้นส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การหมั่นสังเกตุสรีระของตัวเอง ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง การยืดเหยียดเป็นประจำเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นข้อต่อ นั้นมีความสำคัญ แต่หากอาการปวดบ่าและหัวไหล่นั้นมีอาการเรื้อรังหรือปวดมากจนรบกวนชีวิตประจำวันก็ขอแนะนำให้เข้ารับการรักษาจาผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงครับ หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาการเพิ่มเติมสามารถติดต่อเข้ามาที่ contact@painawayclinic.com หรือ 02-258-1361 ครับ