การบำบัดด้วยความร้อน
เป็นการเพิ่มอุณหภูมิเนื้อเยื่อของร่างกายโดยใช้วัสดุเหมาะสมเป็นตัวถ่ายเทความร้อนเพื่อหวังผลในการลดปวดกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น2ชนิดคือ
• ความร้อนตื้น: เป็นความร้อนที่ไม่สามารถผ่านลงไปสู่เนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นลึกได้ โดยอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนชนิดนี้คือ กระเป๋าน้ำร้อน แผ่นประคบร้อน ลูกประคบสมุนไพรเป็นต้น
• ความร้อนความร้อนลึก: เป็นความร้อนที่สามารถผ่านลงไปในเนื้อเยื่อชั้นลึกได้โดยตรง ความร้อนชนิดนี้สามารถกระจายไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงได้ อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนชนิดนี้คือ เครื่องอัลตร้าซาวน์ เครื่องไมโครเวฟ เครื่องรักษาด้วยคลื่นสั้น (short wave) เป็นต้น
กลไกของการลดอาการปวดจากการใช้ความร้อน
เป็นการเพิ่มการไหลเวียนเลือดซึ่งจะช่วยกำจัดสารเคมีที่กระตุ้นตัวรับความเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็นำสารอาหารไปยังบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อซ่อมแซม และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
ข้อบ่งใช้ความร้อน
เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวดในระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ภาวะข้อติดแข็งและรอยฟกช้ำในระยะฟื้นสภาพได้
นอกจากเราจะนำความร้อนมาใช้รักษาเพื่อลดอาการปวดได้อย่างมากมายหลากหลายวิธีแล้ว แต่ความร้อนก็ยังมีข้อห้ามข้อควรระวังในการใช้เพื่อการรักษาด้วยนะคะ
ข้อห้ามของการใช้ความร้อนในการรักษา
การรักษาโดยใช้ความร้อนจะไม่สารถทำได้ในผู้ที่มีอาการบาดเจ็บในระยะเฉียบพลันมีเลือดออก หรือยังคงมีอาการอักเสบอยู่จะสามารถซึ่งเราสังเกตได้จาก 3 สัญญาณคือ บวม แดง และร้อน นอกจากนี้การใช้ความร้อนลึกในบริเวณเนื้องอกหรือมะเร็งจะเป็นการเพิ่มการกระจายตัวของมะเร็งอีกด้วยค่ะ