MPS คืออะไร

  • ปัจจุบัน MPS ยังไม่มีคำนิยามที่เป็นมาตรฐาน โดย MPS มีหลากหลายคำจำกัดความตามความเห็นและประสบการณ์แพทย์แต่ละสาขาแต่ทุกคำกำจัดความมักมีสาระสำคัญร่วมกันคือ อาการปวดร้าวและการตรวจพบจุด Trigger Point (TrP)
  • ในปี 1998 Simon & Travell ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนและรัดกุมเกี่ยวกับ MPS ว่า “กลุ่มอาการปวดหรือปรากฏการณ์ของระบบประสาทออโตโนมิก (Autonomic Phenomena) อันมาจากจุดปวดที่เรียกว่า TrP ในเนื้อเยื่อพังผืด”

ระบาดวิทยา ความชุก อุบัติการณ์

  • พบบ่อยสุดในกลุ่มวัยทำงานช่วงอายุ 31 – 50 ปี
  • พบในผู้หญิง > ผู้ชาย (เนื่องจากค่าแรงกดให้เกิดอาการปวด หรือ Pressure Pain Thresholds (PPTs) ของผู้หญิง < ผู้ชาย)
  • พบว่า 30% ในเวชปฎิบัติทั่วไปของผู้ป่วยที่มีอาการปวดจะมี MPS ร่วมด้วย
  • พบว่ากลุ่มอาชีพที่ใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักมีโอกาสเกิด TrP น้อยกว่ากลุ่มอาชีพที่ทำงานเบาแต่นาน (เนื่องจากงานในสมัยนี้ใช้ร่างกายส่วนเดิมๆเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิด Cumulative Trauma Disorders ทำให้กล้ามเนื้อมีอุบัติการณ์ TrP สูง)

อาการและอาการแสดง—ด้านความรู้สึก

  • ปวดร้าว (Referred Pain)
    • ปวดร้าวหลักที่ควรพบในทุกราย (Essential Referred Pain Zone)
    • ปวดร้าวแบบกระจายครอบคลุมพื้นที่ (Spillover Referred Pain Zone)
  • ปวดเฉพาะที่ (Local Pain)
  • ปวดแบบแผนแปลก (Bizarred Pattern)
  • พฤติกรรมการปวด (Pain Behavior)
    • ปวดตลอดเวลาแม้ในภาวะปกติ (Spontaneous Pain)
    • ปวดเมิอ TrP ถูกกระตุ้น (Stimulus-Evoked Pain)
  • ความรุนแรงของอาการปวด (Pain Severity)
  • การรับรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนไป (Altered Sensation)
    • ภาวะไวต่อความปวดมากขึ้น (Hyperalgesia)
    • ภาวะไวต่อความปวดลดลง (Hypoesthesia)

ด้านระบบประสาทออโตโนมิก

  • ความผิดปกติที่พบบ่อยคืออาการปวด แต่อาจมีอาการแสดงอื่นที่พบได้ถ้ามีการรบกวนระบบอื่นๆ เช่น
    • ระบบควบคุมการหดขยายของหลอดเลือดถูกรบกวน (Vasomotor Disturbance) เช่น มี TrP ที่ กล้ามเนื้อ Infraspinatus ทำให้รู้สึกว่ามือเย็นหรือซีด เหมือนเลือดลมไม่เดิน
    • ระบบควบคุมต่อมคัดหลั่งบริเวณใบหน้าและช่องปากถูกรบกวน (Secretion Disturbance) เช่น มี TrP ที่กล้ามเนื้อคอ ช่องปากหรือใบหน้า ทำให้น้ำตาไหล คัดจมูกหรือน้ำลายออกมาก
    • ระบบการทำงานของต่อมเหงื่อและรูขุมขนถูกรบกวน (Pilomotor Disturbance) เช่น บริเวณที่มีอาการปวดร้าวจาก TrP จะทำให้มีอาการเหงื่อออกและขนลุก
    • ระบบรับรู้ตำแหน่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อถูกรบกวน (Proprioceptive Disturbance) เช่น มี TrP ที่กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid ทำให้เวียนศีรษะ หูอื้อ ตาพร่า เสียสมดุลการทรงตัว

ด้านการทำงานของกล้ามเนื้อ

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness)
  • การสูญเสียความคล่องตัว (Clumsiness)

ด้านการตรวจพบที่ TrP

  • การจำแนก TrP ตามอาการ
    • Active TrP (TrP ที่แสดงอาการต่างในภาวะปกติ)
    • Latent TrP (TrP ที่ไม่แสดงอาการต่างในภาวะปกติแสดงเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้น)
  • การจำแนก TrP ตามระยะเวลาที่มีอาการ
    • Acute TrP (TrP ที่มีอาการไม่เกิน 2 เดือน เรียกว่า ”จุดปวดเฉียบพลัน”)
    • Subacute TrP (TrP ที่มีอาการมากกว่า 2 แต่ไม่เกิน 6 เดือน เรียกว่า ”จุดปวดรองเฉียบพลัน”)
    • Chronic TrP (TrP ที่มีอาการมากกว่า 6 เดือน เรียกว่า ”จุดปวดเรื้อรัง”)
  • การจำแนก TrP ตามลำดับการเกิดและตำแหน่ง
    • จุดปวดหลักหรือ Primary TrP (TrP ที่เกิดนำมาเป็นจุดแรกโดยมักเกิดในกล้ามเนื้อหลักของกลุ่ม Functional Unit)
    • จุดปวดรองหรือ Secondary TrP (TrP ที่เกิดจากการชักนำของ Primary TrP มักเป็นในกล้ามเนื้อใกล้เคียงซึ่งอยู่ใน Functional Unit เดียวกับกล้ามเนื้อที่มี Primary TrP)
    • จุดปวดบริวาร Satellite TrP (TrP ที่เกิดในบริเวณที่เป็น Refered Pain ของ Primary TrP)
    • จุดปวดร่วมหรือ Associated TrP (TrP ที่เกิดร่วมกับ Primary TrP แต่เกิดในกล้ามเนื้อคนละมัด)
  • การจำแนก TrP ตามความสำคัญทางคลินิก
    • Key TrP (TrP ที่เริ่มต้นและเป็นต้นตอหลักกับอาการต่างๆปและชักนำให้เกิด TrP ตัวอื่นๆตามมาคล้าย Primary TrP แต่ต่างตรงที่สามารถกระตุ้น TrP อื่น ที่อยู่ในภาวะแผงหรือ Laten TrP ให้แสดงอาการได้)
  • การจำแนก TrP ตามตำแหน่งในกล้ามเนื้อมัดเดียวกัน
    • Central TrP (Trp ที่เกิดในบริเวณกลางๆของกล้ามเนื้อมักเกิดในตำแหน่งที่มีความเครียดสูงสุดและจุดที่เป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงมัดกล้ามเนื้อนั้นหรือ Motor End-Plate)
    • Attachment TrP (Trp ที่เกิดในบริเวณรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นหรือบริเวณที่เกาะต้นหรือปลายของกล้ามเนิ้อ)
Pain Away LINE Account
Book Appointment