โดยปกติ เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าหลังบาดเจ็บนั้น ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเส้นเอ็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดการฉีกขาดออกจากกันของเส้นเอ็น ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เข่าสูญเสียความมั่นคงขึ้นได้ ในกรณีนี้อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเส้นเอ็น และในบทความนี้จะเขียนแนวทางการปฎิบัติคร่าวๆหลังการผ่าตัด
 

หลังการผ่าตัด ช่วงอาทิตย์แรก – อาทิตย์ที่ 2

 
เป้าหมาย
  • ลดอาการปวด และบวมบริเวณข้อเข่า
  • สามารถควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาได้ดี
  • สามารถเหยียดขาได้สุด
  • ป้องกันเส้นเอ็นที่นำมาทำgraft (ทดแทน) หลังการผ่าตัดให้ได้รับการฟื้นฟูสภาพ
 
การจัดการ
  • RICE: พักการใช้งานข้อเข่า โดยการใช้อุปกรณ์ประคองเข่า เพื่อลดอาการปวด และป้องกันข้อเข่า ร่วมกับการประคบเย็น อย่างน้อย 20 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน และยกขาขึ้นสูงเพื่อลดบวม และลดความดันในเนื้อเยื่อ เพื่อลดอาการปวด
  • ลงน้ำหนักขาที่ได้รับการผ่าตัดเท่าที่สามารถทำได้ โดยใช้ไม้ค้ำในการช่วยพยุงตัวเวลายืน หรือเดิน
  • ใช้อุปกรณ์พยุงข้อเข่า ในช่วง 2 อาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด พยายามใส่ตลอดเวลา ยกว้นตอนออกกำลังกาย และนอน
  • ไม่ควรงอเข่ามากกว่า 30 องศา ในช่วง 2 อาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด
  • ไม่ควรปล่อยขาข้างที่ได้รับการผ่าตัด โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยพยุง
 
ท่าออกกำลังกาย
 
อาทิตย์แรก
  • Knee extension: นอนหงาย ขาเหยียดตรง เอาผ้าขนหนูมาม้วนๆ แล้วนำไปวางไว้ที่ส้นเท้า ให้ขาได้มีการเหยียดสุด
  • Heel slide: นอนหงาย งอเข่าลากเท้าเข้าหาสะโพก (ในกรณีที่ใช้เส้นเอ็นของhamstring เป็นgraft ยังไม่ควรทำท่านี้ ควรรอ ประมาณอาทิตย์ที่4-6)
  • Static quads: นอนหงาย ขาเหยียดตรง ให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า คล้ายกับการกดเข่าติดเตียง แต่ไม่มีการยกส้นเท้าออกจากเตียง
  • Straight leg raise (SLR): นอนหงาย และยกขาขึ้นตรงๆ
 

อาทิตย์ที่ 2 (เพิ่มท่าออกกำลังกาย)

  • Partial squats: ย่อเข่าลงไม่เกิน 30 องศา (จับเก้าอี้ หรือโต๊ะ ขณะออกกำงกายท่านี้)
  • Toe raises: เขย่งส้นเท้าขึ้น (จับเก้าอี้ หรือโต๊ะ ขณะออกกำงกายท่านี้)
  • Prone knee hangs: นอนคว่ำ ปลายเท้าพ้นเตียง (ขาเหยียดตรง)
  • Hamstring curl: นอนคว่ำ งอขาเข้าหาสะโพก (ในกรณีที่ใช้เส้นเอ็นของhamstring เป็นgraft ยังไม่ควรทำท่านี้ ควรรอ ประมาณอาทิตย์ที่4-6)
 

ช่วงที่ 2 อาทิตย์ที่ 3-6

 
เป้าหมาย
  • ลดอาการปวด และบวมบริเวณข้อเข่า
  • สามารถงอเข่าได้ 100 – 120 องศา
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า
  • สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และข้อเข่าได้ดี
 
การจัดการ
  • ประคบเย็นบริเวณข้อเข่า 20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการปวด และบวม
  • ไม่ควรออกกำลังกายในท่านั่ง แล้วเตะขามาด้านหน้า โดยที่มี หรือไม่มีน้ำหนักมาถ่วงที่ขา
  • ควรเน้นออกกำลังกายในท่า squats and lunges
  • ออกกำลังกายในน้ำ เช่นการเดินในน้ำ แต่ยังไม่ควรเตะขาในน้ำ
 
ท่าออกกำลังกาย
  • ยังคงทำท่าออกกำลังกายแบบเดียวกับช่วง 2 อาทิตย์แรก แต่ให้เพิ่มองศา และจำนวนครั้ง
  • จักรยานปั่นอยู่กับที (Stationary bike): ปั่นจักยานอยู่กับที แต่ให้ระวังการงอเข่าที่มากเกินไป อาจใช้วิธีปรับเบาะที่นั่งให้สูง เข่าจะได้ไม่งอมากจนเกินไป และยังไม่ควรปรับให้มีแรงต้านขณะออกกำลังกาย
  • Lunges: ให้ขาข้างที่ผ่าตัดอยู่ด้านหน้า
  • Leg press: ใช้เครื่อง leg press machine โดยจะให้ดันขาไปด้านหน้า ช่วงแรกอาจใช้น้ำหนักน้อยที่สุด
  • Step ups: ก้าวขาขึ้นstep โดยให้ขาข้างที่ผ่าตัดเป็นขาข้างที่ขึ้นก่อน ให้เริ่มจากระดับความสูงเล็ก
  • Bridging: ท่านอนหงาย ชันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง จากนั้นให้ยกสะโพกขึ้น
  • Hip abduction: ท่านอนตะแขง ขาข้างที่ผ่าตัดอยู่ด้านบน เหยียดขาตรง และเตะขาขึ้น
  • ท่าออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัว เช่น ยืนเท้าต่อเท้า และยืนขาเดียว
 

ช่วงที่ 3 อาทิตย์ที่ 7-12

 
เป้าหมาย
  • ไม่มีอาการบวมบริเวณรอบข้อเข่า
  • สามารถงอเข่าได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว
  • สามารถทรงตัวได้ด้วยขาข้างที่ผ่าตัด
  • ยังคงเน้นเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณเข่า
 
การจัดการ
  • ออกกำลังกายในน้ำ หรือว่ายน้ำในท่าฟรีสไตล์ แต่ยังไม่ควรว่ายในท่ากบ (breast stroke) จนถึงช่วงประมาณเดือนที่ 4 หลังผ่าตัด (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหมอ และนักกายภาพบำบัด)
  • เดินบนลู่วิ่ง หรือพื้นราบ ไม่ควรเดินบนพื้นที่มีความลาดชั
  • ปั่นจักรยานอยู่กับที่ แต่อาจเพิ่มแรงต้านมากขึ้น
  • เริ่มออกกำลังกายในท่านั่งเตะขา (leg straight against resistance)ให้เริ่มออกกำลังกายในอาทิตย์ที่ 8 (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหมอ และนักกายภาพบำบัด)
 
ท่าออกกำลังกาย
  • Single leg squat: ยืนขาเดียว (ข้างที่ได้รับการผ่าตัด)ย่อตัวลง บาลานน้ำหนักไว้ที่ขาด้านเดียว เทน้ำหนักมาด้านหลัง เกรงสะโพกและขา
  • ยังคงออกกำลังเพื่อฝึกการทรงตัว (balance exercise) แต่อาจเพิ่มความยากโดยการให้ออกกำลังกายบนพื้อผิวที่ไม่เสถียร เช่น bosu ball หรือ dura disc
  • Single leg balance with resistance: ยืนเท้ากว้างเสมอไหล่ โดยที่จะใช้ elastic band รอบข้อเท้าข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด ส่วนขาข้างที่ผ่าตัดให้ยืนงอเข่าเล็กน้อย จากนั้นให้ขยับขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดไปในทิศทางต่างๆ
  • Side crab walk: ย่อเข่าลงทั้ง 2 ข้าง คล้ายๆท่าsquats แต่ย่อน้อยกว่า โดยจะมี elastic band อยู่รอบข้อเข่า จากนั้นให้ก้าวขาออกไปทางด้านข้าง
  • ยืดกล้ามเนื้อ quadriceps
  • ออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาโดยใช้เครื่อง leg press machine อาจจะเพิ่มน้ำหนัก หรือจำนวนครั้ง
  • ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพิ่มแรงต้านขณะปั่น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
 

ช่วงที่ 4 เดือนที่ 3-6

 
เป้าหมาย
  • สามารถ squats ได้เต็มช่วงของการเคลื่อนไหวโดยที่ไม่มีอาการเจ็บ
  • สามารถกลับไปวิ่งได้
  • สามารถทรงตัวได้ด้วยขาข้างที่ผ่าตัด โดยไม่มีอาการเจ็บ
  • มีความมั่นคงของข้อเข่าที่ดี
  • สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว และไม่มีอาการปวด หรือบวม
 
การจัดการ
  • มีการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงการทรงท่า โดยการเพิ่มความยากมากขึ้น
  • ยังคงออกกำลังกายในน้ำ เช่นการว่ายน้ำ เดินในน้ำ
  • เริ่มมีการออกแบบโปรแกรมการวิ่ง แต่ยังคงเน้นการวิ่งบนพื้นราบ
  • เริ่มให้มี Plyometric exercise หรือก็คือการออกกำลังกายที่ใช้ความแข็งแรงและความเร็ว ในการหด และคลายตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดกำลังกล้ามเนื้อเพื่อการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากที่สุด ใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด ซึ่งมีลักษณะของการฝึกที่หลากหลายรูปแบบ เป็นการนำการฝึกกระโดดแบบต่างๆ  เช่น การกระโดดสูง การกระโดดยกเข่าสูง เป็นต้น
  • เริ่มให้ออกกำลังกายในท่าทางจำเพาะของกีฬาบางประเภท
 
ท่าออกกำลังกาย
  • ยังคงทำท่าออกกำลังกายแบบเดียวกับช่วงก่อนหน้า แต่ให้เพิ่มแรงต้าน และจำนวนครั้ง
  • Nordic eccentric hamstring exercise: หาที่ล็อคข้อเท้าทั้งสองข้างเอาไว้หรือให้คนช่วยจับข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง ยืดอก-ตัวตรง ตั้งฉากกับพื้น จากนั้นค่อยๆเอนตัวไปทางด้านหน้าให้ได้ระยะเท่าที่ทำได้ พยายามเกร็งต้านไว้ให้ได้มากที่สุด แล้วค่อยๆเอนตัวกลับมาในตำแหน่งเดิม
  • กระโดด เช่น Squat Jump หรือ Box Jump ให้ระวังข้อเข่าไม่ให้บิดเขาด้านใน หรือออกด้านนอก                  

 

ช่วงที่ 5 เดือนที่ 6-9 กลับไปเล่นกีฬา

เป้าหมาย
  • รู้สึกมั่นใจที่จะกลับไปเล่นกีฬาเหมือนเคย
  • สมารถกลบไปเล่นกีฬาที่เคยเล่นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • สามารถกระโดดขาข้างเดียว หรือ squats ด้วยขาข้างเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การจัดการ
  • ออกแบบโปรแกรมเฉพาะสำหรับการเล่นกีฬาชนิดนั้นๆในแต่ละบุคคล
 
Reference
 
 
 
กภ. ชวิศา วศินชัชวาล
Pain Away LINE Account
Book Appointment